ตัวกรองผลการค้นหา
วัตถุดิบ
หมายถึงน. สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูป; โดยปริยายหมายถึงเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น ที่นักเขียนเสาะหาหรือตระเตรียมสะสมไว้เพื่อแต่งหนังสือ.
นิราศ
หมายถึง[-ราด] ก. ไปจาก, ระเหระหน, ปราศจาก. น. เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือโคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลง. (ส.).
รายงาน
หมายถึงน. เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนำมาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น. ก. บอกเรื่องของการงาน เช่น รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ.
นาฏกรรม
หมายถึง[นาดตะกำ] น. การละครหรือการฟ้อนรำ; (กฎ) งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และหมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).
มวยล้ม
หมายถึงน. การชกมวยบนเวทีที่คู่ต่อสู้ฝ่ายหนึ่งแกล้งยอมเป็นฝ่ายแพ้ เพื่อหวังผลในการพนัน, โดยปริยายหมายถึงการต่อสู้หรือเรื่องราวที่ดูเหมือนเอาจริงเอาจัง แต่กลับไม่จริงหรือเลิกล้มไป.
ยาวยืด
หมายถึงว. อาการที่ของเหลวและเหนียวไหลย้อยยาวลงมา, ยาวมากไม่รู้จักจบ (มักใช้แก่ข้อความหรือเรื่องราวที่ยาวเกินไป) เช่น เรื่องนี้ยาวยืดเล่าไม่รู้จักจบ.
พราหมณะ
หมายถึง[พฺรามมะนะ] น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาประเภทหนึ่งในยุคพระเวทของอินเดียโบราณ มีหลายคัมภีร์ด้วยกัน ส่วนใหญ่แต่งร้อยแก้ว ว่าด้วยการประกอบพิธีกรรม มีเรื่องราวของเทพต่าง ๆ ประกอบ. (ส. พฺราหฺมณ).
พากย์
หมายถึงก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนังใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือการแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราวเป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. น. คำพูด, ภาษา; คำกล่าวเรื่องราวเป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. (ป., ส. วากฺย).
ตำนาน
หมายถึงน. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง, เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น ตำนานพุทธเจดีย์สยาม; เรียกพระปริตรบทหนึ่ง ๆ ว่า ตำนาน ในคำว่า เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน.
เล่า
หมายถึงก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
คติชาวบ้าน
หมายถึงน. เรื่องราวของชาวบ้านที่เป็นของเก่าเล่าต่อปากและประพฤติสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนในรูปคติความเชื่อ ประเพณี นิทาน เพลง ภาษิต ปริศนาคำทาย ศิลปะ สถาปัตยกรรม การละเล่นของเด็ก เป็นต้น, วิชาที่ว่าด้วยเรื่องเหล่านั้น.
รื้อ
หมายถึงก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็นกลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย; เอาขึ้นมาใหม่ เช่น รื้อเรื่องราวที่ระงับไว้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ รื้อเรื่องเดิมขึ้นมาเขียนใหม่; ขนออก เช่น รื้อสัตว์จากวัฏสงสาร.