ตัวกรองผลการค้นหา
ยิ้มกริ่ม
หมายถึงก. ยิ้มน้อย ๆ ด้วยความกระหยิ่มใจหรือพอใจ, กระหยิ่มยิ้มย่อง.
ในที
หมายถึงว. มีท่าทีจะเป็นเช่นนั้นแต่ไม่แสดงให้ปรากฏ เช่น ยิ้มในที รู้ในที, อยู่ในที ก็ว่า.
หน้าเป็น
หมายถึงว. อาการที่ทำหน้ายิ้มหรือหัวเราะอยู่เรื่อย ๆ, ช่างหัวเราะ.
มุ่ย
หมายถึงว. อาการที่ยิ้มไม่ออกเพราะไม่พอใจ (ใช้แก่หน้า) เช่น เขาถูกดุเลยทำหน้ามุ่ย.
ระรื่น,ระรื้น
หมายถึงว. ชื่นบาน, เบิกบานใจ, เช่น ยิ้มระรื่น, เอิบอาบใจ, ซาบซ่านใจ, เช่น หอมระรื่น.
แต้
หมายถึงว. แป้น ในคำว่า ยิ้มแต้, ป้อ เช่น รำแต้, แสดงความยินดี เช่น วิ่งแต้.
แย้มพระโอษฐ์
หมายถึงคำว่า "โอษฐ์" หมายความว่า "ริมฝีปาก, ปาก" เพราะฉะนั้นแล้ว "แย้มพระโอษฐ์" จึงหมายความว่า "เผยอริมฝีปากแต่น้อยๆ" หรือที่เราเข้าใจกันคือการ "ยิ้ม" นั่นเอง
อัพภาส
หมายถึง[อับพาด] น. คำซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อนหรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ในภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
แฉ่ง
หมายถึงว. ใช้ประกอบอาการของยิ้มหรือหน้าที่ร่าเริงเบิกบาน เช่น ยิ้มแฉ่ง หน้าแฉ่ง. น. เครื่องตีประกอบจังหวะทำด้วยโลหะ รูปอย่างม้าล่อ.
แย้ม
หมายถึงก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.
ร่า
หมายถึงว. อาการที่แสดงให้เห็นว่าเบิกบานเต็มที่ เช่น หัวเราะร่า ยิ้มร่า; เปิดเต็มที่ (ใช้แก่อาการที่เห็นจะแจ้งหรือเปิดเผยเต็มที่) เช่น ประตูเปิดร่า หน้าต่างเปิดร่า.
ปริ่ม
หมายถึง[ปฺริ่ม] ว. เสมอขอบ, เสมอพื้น, (ในลักษณะอย่างนํ้าที่ขึ้นเสมอขอบตลิ่งหรือดอกบัวที่โผล่ขึ้นเสมอพื้นนํ้าเป็นต้น); อาการที่มีความยินดีปลื้มใจ เช่น ปริ่มใจ ปริ่มยิ้ม ปริ่มเปรม.