ค้นเจอ 33 รายการ

โอภา

หมายถึงก. ทักทายด้วยวาจาสุภาพ.

กระแสพระราชดำรัส

หมายถึง[-ราดชะ-] (ราชา) น. ข้อความที่พระเจ้าแผ่นดินตรัส.

เปรยปราย

หมายถึงก. พูดทักทายทั่วไปไม่จำเพาะใคร.

โอภาปราศรัย

หมายถึง[-ปฺราไส] ก. ทักทายด้วยความสนิทสนมเป็นกันเอง.

บรรหาร

หมายถึง[บันหาน] (กลอน; แผลงมาจาก บริหาร) ก. เฉลย, กล่าวแก้, ตรัสสั่ง.

ประภาษ

หมายถึง[ปฺระพาด] ก. ตรัส, บอก, พูด. (ส. ปฺรภาษ; ป. ปภาส).

อาลปน์,อาลปนะ

หมายถึง[อาลบ, อาละปะนะ] น. การพูด, การสนทนา, การเรียก, การทักทาย; ในไวยากรณ์ หมายถึง คำที่ใช้เรียกหรือทักทายผู้ที่ตนจะพูดด้วย เช่น “นายแดง แกจะไปไหน” คำ “นายแดง” เป็นอาลปนะ. (ป., ส.).

สำแดง

หมายถึงคำกล่าวประกอบชื่อผู้อื่นซึ่งปรากฏอยู่เฉพาะหน้า, เป็นสำนวนแปลบาลีเก่า ใช้ในที่ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับพระสาวก เช่น สำแดงอานนท์.

ปฏิสันถาร

หมายถึงน. การทักทายปราศรัยแขกผู้มาหา (มักใช้แก่ผู้น้อย); การต้อนรับแขก. (ป. ปฏิสนฺถาร).

ปากเปราะ

หมายถึงก. พูดจาทักทายเก่ง, พูดจาว่าคนง่าย ๆ; เห่าเก่ง (ใช้แก่สุนัข).

ดำรัส

หมายถึง[-หฺรัด] น. คำพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดำรัส, คำพูดของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชดำรัส. ก. พูด (ใช้แก่เจ้านาย). (แผลงมาจาก ตรัส).

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ