ค้นเจอ 290 รายการ

ตะขบ

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Flacourtia วงศ์ Flacourtiaceae เช่น ตะขบไทย (F. rukam Zoll. et Moritzi) ต้นมีหนาม ผลกลม สุกสีม่วงแดงหรือแดงเข้ม รสหวาน รากใช้ทำยาได้. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Muntingia calabura L. ในวงศ์ Tiliaceae ต้นไม่มีหนาม ผลกลมเล็กกว่าตะขบไทย สุกสีม่วงแดง รสหวาน, ตะขบฝรั่ง ก็เรียก.

ทุเรียน

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Durio zibethinus L. ในวงศ์ Bombacaceae ผลเป็นพู ๆ มีหนามแข็งเต็มทั่วลูก เนื้อมีรสหวานมัน มีหลายพันธุ์ เช่น กบ ก้านยาว กำปั่น ทองย้อย หมอนทอง.

โรตี

หมายถึงน. ชื่ออาหารแขกชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีนวดแล้วแผ่เป็นแผ่น ทอดในกระทะแบน ๆ กินเป็นอาหารคาวอย่างขนมปัง หรือกินเป็นอาหารหวานก็ได้โดยโรยน้ำตาลทราย นม เป็นต้น.

จ่ามงกุฎ

หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายกะละแมขาว มีไส้เป็นถั่วลิสงเม็ด ห่อด้วยใบตองอ่อนนาบ เช่น งามจริงจ่ามงกุฎ ใส่ชื่อดุจมงกุฎทอง. (เห่ชมเครื่องคาวหวาน).

ซีอิ๊ว,ซี่อิ้ว

หมายถึงน. เครื่องปรุงรสอย่างน้ำปลา ทำด้วยถั่วเหลือง, น้ำปลาถั่วเหลือง ก็เรียก, อย่างใสเรียกว่า ซีอิ๊วขาว, อย่างข้นเรียกว่า ซีอิ๊วดำ, ถ้าใส่น้ำตาลทรายแดง เรียกว่า ซีอิ๊วหวาน. (จ.).

มะนาวเทศ

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มชนิด Triphasia trifolia (Burm.f.) P. Wils. ในวงศ์ Rutaceae ต้นมีหนาม ใบเล็ก ผลคล้ายตะขบฝรั่ง แต่ผิวคล้ายส้ม เมื่อสุกเนื้อในเป็นยาง รสหวานเจือเผ็ด.

มังคุด

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia mangostana L. ในวงศ์ Guttiferae ผลกลม เมื่อแก่สีแดงคลํ้า เปลือกมีรสฝาดใช้ทำยาได้ เนื้อในขาว รสหวานอมเปรี้ยว.

ซูโครส

หมายถึง[-โคฺร้ด] (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๘๐ °ซ. องค์ประกอบเป็นโมเลกุลของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของฟรักโทส มีรสหวานจัด มักทำจากต้นอ้อย, สามัญเรียกว่า นํ้าตาลทราย. (อ. sucrose).

บูดู

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุงรส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดูแบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้.

สาคูลาน

หมายถึงน. แป้งสาคูที่เอาเยื่อในลำต้นแก่ของสาคูชนิดคล้ายต้นลานมาทำเป็นแป้งเม็ดโต ๆ ทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน เช่น ซุปสาคู สาคูน้ำเชื่อม, สาคูเม็ดใหญ่ ก็ว่า.

โหมโรง

หมายถึงน. การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง; เพลงเริ่มต้นของการบรรเลงหรือการแสดง เพื่อบอกให้ทราบว่าพิธีหรืองานนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว แบ่งเป็นหลายชนิดตามลักษณะของงาน มหรสพที่แสดง และการบรรเลง เช่น โหมโรงเย็น โหมโรงเช้า โหมโรงเทศน์.

ครึ้ม

หมายถึง[คฺรึ้ม] ว. มืดมัว เช่น อากาศครึ้ม; ร่มและเย็น เช่น ป่าครึ้ม; ดกและงาม (ใช้แก่หนวด); ทำให้เพลิดเพลิน เช่น เสียงมโหรีครึ้ม. ก. กริ่ม, กระหยิ่ม, ร่าเริงในใจ, เช่น ครึ้มใจ.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ