ตัวกรองผลการค้นหา
พาดควาย
หมายถึงว. เรียกลักษณะการห่มผ้าของพระอย่างหนึ่ง คือเอาจีวรจีบเข้าแล้วพาดบ่า แล้วคาดรัดประคดอก ว่า ห่มพาดควาย.
กุ้ง
หมายถึงน. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา มีทั้งในนํ้าจืดและนํ้าเค็ม มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งนาง กุ้งฝอย กุ้งหลวง กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน.
ราชทัณฑ์
หมายถึงน. อาญาพระเจ้าแผ่นดิน, โทษหลวง, เช่น ต้องราชทัณฑ์, เรียกกรมที่มีหน้าที่ลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดตามตัวบทกฎหมายควบคุมอบรมฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้กระทำผิด พักการลงโทษและคุมประพฤติ และขอพระราชทานอภัยโทษ ปลดปล่อยและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ เป็นต้น ว่า กรมราชทัณฑ์. (ป., ส.).
นุ
หมายถึง(กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
กะบังลม
หมายถึงน. แผ่นกั้นประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อและเนื้อพังผืดแยกช่องท้องออกจากช่องอก มีอาการยืดและหดได้เพื่อช่วยในการหายใจ.
แฟบ
หมายถึงว. อาการของสิ่งที่ตามปรกติควรจะโป่งหรือพอง แต่ได้ยุบหรือแบนลงไป เช่น ยางรถแฟบ ท้องแฟบ อกแฟบ จมูกแฟบ.
กรมธรรม์
หมายถึง[กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอมให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).
อกนิษฐ์
หมายถึง[อะกะ-] น. รูปพรหมชั้นสูงสุดในพรหม ๑๖ ชั้น. (ส. อกนิษฺ; ป. อกนิฏฺ). ว. ใหญ่ที่สุด, สูงสุด, มากที่สุด.
อกรวบ
หมายถึงน. อกไม่ผาย. ว. อาการของคนที่วิ่งจนเหนื่อยหอบแทบจะหมดเรี่ยวแรง เรียกว่า วิ่งจนอกรวบ.
ผวน
หมายถึง[ผฺวน] ก. หวน, กลับ, เช่น ผวนคำ, เรียกคำที่พูดทวนกลับเช่นนั้น เช่น ตกที่อิฐ ผวนเป็น ติดที่อก ว่า คำผวน.
โกฐจุฬาลัมพา,โกฐจุฬาลำพา
หมายถึงน. ชื่อเรียกเรือนยอด (แห้ง) ที่กำลังมีดอกของพืช ๓ ชนิด ในสกุล Artemisia วงศ์ Compositae เช่น ชนิด A. vulgaris L.
ถอยใจใหญ่
หมายถึง(โบ) ก. ถอนใจใหญ่, หายใจแรงและยาวในขณะที่รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจหรือโล่งอกโล่งใจเป็นต้น เช่น ท้าวธก็ถอยใจใหญ่ไปมา. (ม. คำหลวง กุมาร).