ค้นเจอ 437 รายการ

จุทสะ

หมายถึง[จุดทะสะ] (แบบ) ว. สิบสี่. (ป. จุทฺทส; ส. จตุรทศ).

ทู

หมายถึง(กลอน) ว. สอง เช่น ลูกเสือสนองคำโคทู. (เสือโค).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๘ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้นและเป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่น เช่น ศาลา อากาศ ไอศกรีม วงศ์.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.

ลิ้นแข็ง

หมายถึงว. อาการที่พูดออกสำเนียงได้ไม่ชัด, อาการที่พูดภาษาอื่นให้ชัดได้ยาก.

ครัดเคร่ง

หมายถึง[คฺรัดเคฺร่ง] (กลอน) ก. แน่น, ตึง เช่น แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง เต้านมทั้งสองก็ครัดเคร่ง. (ขุนช้างขุนแผน), เคร่งครัด ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน; ถูกต้องครบถ้วน.

จตุ,จตุ-

หมายถึง[จะตุ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี. (ป.).

แสน

หมายถึงว. สิบหมื่น; มากยิ่ง, เหลือเกิน, เช่น แสนลำบาก. น. ตำแหน่งนายทหารครั้งโบราณทางภาคพายัพ.

อัจฉริยลักษณ์,อัจฉริยลักษณะ

หมายถึงน. ลักษณะดีเด่นเป็นที่น่าอัศจรรย์ เช่น อัจฉริยลักษณ์ของภาษาไทย อัจฉริยลักษณะของมหาบุรุษ.

คำเติม

หมายถึงน. คำที่เติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลัง ของคำตั้งในภาษาคำติดต่อ.

พาณี

หมายถึงน. เสียง, ถ้อยคำ, ภาษา; เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ป., ส. วาณี).

ส่วย

หมายถึงน. ชนชาติพูดภาษาตระกูลมอญ-เขมรพวกหนึ่ง อยู่ทางภาคอีสาน.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ