ค้นเจอ 233 รายการ

แย็บ

หมายถึงก. ชกออกไปตรง ๆ และชักหมัดกลับโดยเร็ว; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ลองเชิง, หยั่งดูท่าที. (อ. jab).

รำชั่วโทษพากย์

หมายถึง(สำ) ก. ทำไม่ดีหรือทำผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ก็ว่า.

กาหลงรัง

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้วไม่ยอมกลับบ้านของตน, ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง.

โปรดสัตว์ได้บาป

หมายถึง(สำ) ก. ทำดีแต่กลับได้ชั่ว, มักพูดเข้าคู่กับ ทำคุณบูชาโทษ ว่า ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป.

อยู่ดีไม่ว่าดี

หมายถึง(สำ) ว. แทนที่จะอยู่เฉย ๆ กลับทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตน เช่น อยู่ดีไม่ว่าดีขอลูกเขามาเลี้ยง.

พลิก

หมายถึง[พฺลิก] ก. กลับด้านหนึ่งเป็นอีกด้านหนึ่ง เช่น เรือพลิกท้อง ปลาพลิกท้อง นอนพลิกข้าง พลิกหน้าหนังสือ พลิกถ้อยคำ.

สอนลูกให้เป็นโจร

หมายถึง(สำ) ก. ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลายเป็นโจร.

หัวหายตะพายขาด

หมายถึง(สำ) ว. อาการที่ชอบเที่ยวเตลิดไปไม่อยู่ติดบ้าน บางทีก็ไม่กลับบ้านเลย คล้ายวัวควายที่เชือกตะพายขาดเที่ยวเตลิดไป.

เข้าที่

หมายถึงก. นั่งภาวนากรรมฐาน (ทางพระศาสนา); กลับเหมือนเดิม เช่น ซ้อมจนเข้าที่; นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่บรรทม.

ต้นร้ายปลายดี

หมายถึง(สำ) น. ตอนแรกประพฤติตัวไม่ดี แต่ภายหลังกลับสำนึกตัวได้แล้วประพฤติดีตลอดไป, ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง.

แยกย้าย

หมายถึงก. แยกกันไปคนละทาง เช่น พองานเลิกต่างก็แยกย้ายกันกลับบ้าน, แยกและย้ายไปอยู่คนละแห่ง เช่น เมื่อพ่อแม่ตายลูก ๆ ก็แยกย้ายไปหาที่อยู่ใหม่.

กระจกเว้า

หมายถึงน. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวหงาย สามารถสะท้อนแสงให้เกิดภาพจริงหัวกลับได้บนจอที่ขวางรับแสงสะท้อน.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ