ค้นเจอ 171 รายการ

ข้าวเหนียว

หมายถึงน. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ดขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดำ, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับกะทิและนํ้าตาลทราย เรียกว่า ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับกะทิและนํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้ เรียกว่า ข้าวเหนียวแดง, ถ้าเอามานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด, ถ้าเอามาห่อแล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่มและเหนียวอย่างข้าวเหนียว เช่น สาเกข้าวเหนียว มะตาดข้าวเหนียว.

ข้าวใหม่ใหญ่

หมายถึงน. ชื่อไข้ชนิดหนึ่ง มีอาการคล้ายไข้ข้าวใหม่น้อย.

ข้าวฮาง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัด เอามาคั่วตากแดดให้แห้งแล้วตำและนึ่ง.

พระกระยาต้ม

หมายถึงข้าวต้ม

ข้าวซ้อมมือ

หมายถึงน. ข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, ปัจจุบันใช้เครื่องจักรสีข้าวแทนเรียกว่า ข้าวกล้อง.

ข้าง

หมายถึงน. เบื้อง เช่น ข้างหน้า ข้างหลัง; ส่วน เช่น ข้างหัว ข้างท้าย; ฝ่าย เช่น ข้างไหน ข้างนี้; สีข้าง เช่น เอาข้างเข้าถู. บ. ใกล้, ริม, เช่น ต้นฝรั่งข้างรั้ว.

ข้าง ๆ คู ๆ

หมายถึงว. ออกนอกแนวนอกเรื่องอย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น เถียงไปข้าง ๆ คู ๆ.

ข้างกระดาน

หมายถึงน. ชื่อเรือต่อในจำพวกเรือข้าวชนิดหนึ่งที่เสริมข้างให้สูงขึ้น.

ข้างหัวนอน

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ทิศใต้.

ข้าเจ้า

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ข้าเฝ้า

หมายถึงน. ขุนนางที่มีตำแหน่งเข้าเฝ้า.

ข้าพระพุทธเจ้า

หมายถึง[ข้าพฺระพุดทะเจ้า] ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดินหรือกราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ