ตัวกรองผลการค้นหา
กรมนา
หมายถึง[กฺรมมะ-] ดู กรม
ขายตามคำพรรณนา
หมายถึง(กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงซื้อขายทรัพย์สินตามลักษณะและคุณภาพที่ผู้ขายได้บรรยายไว้อย่างละเอียด.
จตุรงคเสนา
หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคินีเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).
จัตุรงคินีเสนา
หมายถึง[จัดตุรง-] น. จตุรงคินีเสนา, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา).
จินดาหนา
หมายถึง[-หฺนา] น. ต้นจันทน์. (ช.).
ชนา
หมายถึง[ชะ-] (กลอน) น. ชน เช่น เอาลวดถักคั่นกันชนา. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา).
ชาติพันธุ์วรรณนา
หมายถึง[ชาดติพันวันนะนา] น. ชาติพันธุ์วิทยาสาขาหนึ่งที่พรรณนาถึงวัฒนธรรมแบบต่าง ๆ. (อ. ethnography).
โดยเจตนา
หมายถึง(กฎ) ดู กระทำโดยเจตนา.
ถ่ายสำเนา
หมายถึงก. ถ่ายข้อความหรือภาพเป็นต้นจากต้นแบบหรือต้นฉบับด้วยเครื่องถ่ายเอกสาร.
นา
หมายถึงน. พื้นที่ราบทำเป็นคันกั้นนํ้าเป็นแปลง ๆ สำหรับปลูกข้าวเป็นต้น, พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสำหรับทำประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทำ เช่น นาเกลือ นากุ้ง นาผักกระเฉด, ใช้ประกอบกับคำอื่นที่เกิดหรือเกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา.
เนา
หมายถึงน. วันที่อยู่ถัดจากวันมหาสงกรานต์ หน้าวันเถลิงศก ปรกติตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า วันเนา.
บทสนทนา
หมายถึงน. คำพูดที่โต้ตอบกันในการเรียนภาษา.