ค้นเจอ 168 รายการ

บอก

หมายถึงก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนำ เช่น บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.

กระพอก

หมายถึงก. พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล. (ลอ).

ธงนำริ้ว

หมายถึงน. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้นำริ้วกระบวนต่าง ๆ; ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างว่า กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ่งขุ่นเคืองใจ.

ไม่ทัน

หมายถึงว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทำให้พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.

ศัพท์แสง

หมายถึง(ปาก) น. คำยากที่ต้องแปล เช่น เขาชอบพูดจาเล่นศัพท์แสง ฟังไม่รู้เรื่อง.

โฮกฮาก

หมายถึงว. อาการพูดกระชากเสียงหรือพูดกระแทกเสียงซึ่งไม่น่าฟัง, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกโฮกฮาก.

ร้องเรือ

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. ขับหรือกล่อมเพลงให้เด็กฟัง. น. เรียกเพลงกล่อมเด็กว่า เพลงร้องเรือ.

รื่น

หมายถึงว. ชื่น, สบาย, เช่น ฟังเสียงรื่นหู ดูทิวทัศน์รื่นตา เสียใจแต่แสร้งทำหน้ารื่น.

ปากหอยปากปู

หมายถึงว. ชอบนินทาเล็กนินทาน้อย; ไม่กล้าพูด, พูดไม่ขึ้นหรือพูดไม่มีใครสนใจฟัง (ใช้แก่ผู้น้อย).

พรรณนา

หมายถึง[พันนะ-] ก. กล่าวเป็นเรื่องเป็นราวอย่างละเอียดให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา).

เสียหู

หมายถึงก. สูญเสียหูไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น เรื่องไร้สาระเช่นนี้ ฉันไม่ฟังให้เสียหูหรอก.

ลงอุโบสถ

หมายถึงก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ