ค้นเจอ 293 รายการ

บันกวด

หมายถึง(โบ) ก. รัด, ผูก, เช่น กรรณบันกวดพู่แก้ว. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).

เชือกบาศ

หมายถึงน. เชือกที่ทำเป็นบ่วงผูกปลายไม้คันจามสำหรับคล้องเท้าช้าง.

ยูปะ

หมายถึงน. เสาที่ปักอยู่กลางโรงพิธีสำหรับผูกสัตว์ที่จะบูชายัญ. (ส.).

เบ็ดราว

หมายถึงน. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราว โดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง.

คันโพง

หมายถึงน. เครื่องสำหรับตักนํ้าหรือโพงนํ้า มีคันยาว ที่ปลายมีเชือกผูกโพงเพื่อช่วยผ่อนแรง; คันไม้ยาวใช้ผูกโพงสำหรับตักน้ำหรือโพงน้ำ.

โยชน์

หมายถึง[โยด] น. ชื่อมาตราวัด ๔๐๐ เส้น เป็น ๑ โยชน์; การผูก. (ป., ส.).

สายกระได

หมายถึงน. เชือกถักที่ผูกเหนือจอมแห ใช้สาวดึงแหกลับ.

กะ

หมายถึงน. ชื่อเงื่อนชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับผูกเรือเพื่อคล้องกับที่ยึดหรือเสายึดเรือ เป็นเงื่อนที่แน่นแต่แก้ออกง่าย, ถ้าผูกเงื่อนชนิดทำห่วงไว้ก่อน เรียกว่า กะห่วง.

ระโยงระยาง

หมายถึงน. สายที่โยงหรือผูกไว้ระเกะระกะ เช่น สายไฟระโยงระยางเต็มไปหมดน่ากลัวอันตราย.

กลิ่น

หมายถึง[กฺลิ่น] น. ชื่อพวงดอกไม้ร้อยมีรูปแบนประกอบด้วยอุบะ, ถ้าทำให้ผูกแขวนควํ่าลงมา เรียกว่า กลิ่นควํ่า, ถ้าทำให้ผูกแขวนตะแคง เรียกว่า กลิ่นตะแคง.

ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่

หมายถึง(สำ) ก. ทำตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผลโดยตรง, มักพูดเข้าคู่กับ ผูกอู่ตามใจผู้นอน เป็น ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน.

ขวั้น

หมายถึง[ขฺวั้น] (ถิ่น-อีสาน, ปักษ์ใต้) น. หัวขั้ว เช่น และผูกเป็นขวั้นแขวนวง. (สมุทรโฆษ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ