ตัวกรองผลการค้นหา
ภาษาคำควบมากพยางค์
หมายถึงน. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการประกอบหน่วยคำหลาย ๆ หน่วยเข้าเป็นคำเดียวกัน ทำให้คำหนึ่ง ๆ มีความยาวหลายพยางค์ เช่น ภาษาเวลส์ ภาษาเอสกิโม ภาษาอินเดียนแดง. (อ. polysynthetic language).
ธรรมิก,ธรรมิก-
หมายถึง[ทำมิก, ทำมิกกะ-] ว. ประกอบในธรรม, ประพฤติเป็นธรรม, ทรงธรรม, เช่น ธรรมิกราช สหธรรมิก. (ส.; ป. ธมฺมิก).
วิภัชพยากรณ์
หมายถึงน. การพยากรณ์หรืออธิบาย โดยจำแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น ซึ่งคำนึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
เจ๊า
หมายถึงก. เลิกกันไป, ไม่ได้ไม่เสีย. (ภาษาการพนัน).
คลอง
หมายถึง[คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลำนํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.
ธรรมรัตน์
หมายถึงน. แก้วคือธรรม. (ส.; ป. ธมฺมรตน).
มิจฉาทิฐิ
หมายถึงน. ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม. (ป.).
ธรรมสรีระ
หมายถึงน. ร่างหรือที่บรรจุธรรม, เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์.
เบญจธรรม
หมายถึงหลักธรรม 5 ประการที่ควรปฏิบัติ
เพลงออกสิบสองภาษา
หมายถึงน. เพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บท โดยนำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้าเป็นชุด มี ๑๒ ภาษา.
ธรรมจักษุ
หมายถึงน. ดวงตาคือปัญญาที่รู้เห็นธรรม. (ส.).
ธรรมาทิตย์
หมายถึง[ทำมา-] น. อาทิตย์แห่งธรรม คือพระพุทธเจ้า. (ส.).