ตัวกรองผลการค้นหา
ดูชา
หมายถึงก. ดูแคลน, ดูถูก, เช่น ตูจะให้สูทั้งหลายฆ่า ว่าผู้ดูชาดูแคลน แหนความเราจงมิด. (ลอ.)
ไตรวิชชา
หมายถึง[-วิดชา] น. วิชชา ๓ คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ ๑ วิชชารู้ความตายความเกิดของคนและสัตว์ ๑ วิชชารู้ในทางทำให้สิ้นกิเลส ๑.
ทุมราชา
หมายถึง[ทุมมะ-] น. พญาไม้, ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำยาได้ ใช้ว่า ไม้โพ ก็มี. (พจน. ๒๔๙๓).
บังคับบัญชา
หมายถึงก. มีอำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่. น. อำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่, เรียกผู้มีอำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการนั้นว่า ผู้บังคับบัญชา, เรียกผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการนั้นว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา.
บัญชา
หมายถึงน. คำสั่งของผู้มีอำนาจบังคับในการปกครอง. ก. สั่งการตามอำนาจหน้าที่.
บัพชา
หมายถึง[บับพะชา] น. บรรพชา, การบวช. (ป. ปพฺพชฺชา).
บูชา
หมายถึงก. แสดงความเคารพบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เช่น บูชาพระ บูชาเทวดา บูชาไฟ, ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใสในความรู้ความสามารถ เช่น บูชาวีรบุรุษ บูชาความรู้ บูชาฝีมือ. (ป., ส. ปูชา).
ปรีชา
หมายถึง[ปฺรี-] น. ปัญญาสามารถ, ความรอบรู้จัดเจน. (ส. ปริชฺา; ป. ปริญฺา).
ผู้บังคับบัญชา
หมายถึงน. ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอำนาจปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา.
ราชา
หมายถึงว. ตรง เช่น แผ่กิ่งก้านราชา. (ป. อุชุ; ส. ฤชุ).
วิชชา
หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
วุ้นชา
หมายถึงน. วุ้นนํ้าเชื่อม.