ค้นเจอ 86 รายการ

แบหลา

หมายถึง[แบหฺลา] (ปาก) ว. อาการที่นอนแผ่กางมือกางเท้า ในคำว่า นอนแบหลา. (กลอน) ก. ฆ่าตัวตาย เช่น เห็นเพลิงพลุ่งรุ่งโรจน์โชตนา ก็แบหลาโจนเข้าในอัคคี, ฉวยคว้าได้กริชของพี่ยา จะแบหลาชีวันให้บรรลัย, น้องจะแบหลาครานี้ ตายตามพระพี่ที่หายไป. (อิเหนา).

โดร

หมายถึง[โดน] (กลอน; ตัดมาจาก ข. พิโดร) ก. หอม, กลิ่นหอมที่ฟุ้งไป; โดยปริยายหมายถึงดอกไม้ เช่น กระทึงทอง ลำดวนโดร รสอ่อน พี่แม่. (กำสรวล).

ซื้อหน้า

หมายถึงก. เสนอหน้า, สำแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงินเพื่อซื้อหน้า.

เปะ

หมายถึงก. เอาสิ่งที่มีลักษณะข้นเหลวเป็นต้นซัดลงไป เช่น เอาโคลนมาเปะที่กำแพง, โดยปริยายหมายถึงทิ้งไว้ให้เป็นภาระของผู้อื่น เช่น เอาลูกมาเปะให้พี่สาวเลี้ยง.

ขมอย

หมายถึง[ขะมอย] น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า ยุงชุมฉ่าฝ่าเหลือบฝูง. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ข. กฺมวย ว่า หลาน, ลูกของพี่หรือของน้อง).

ดัก ๆ

หมายถึงว. อาการที่ดิ้นอย่างทุรนทุราย เช่น ปลาดิ้นดัก ๆ. (โบ; กลอน) ว. ลำบาก, อึดอัด, เร่าร้อนใจ, เช่น มาเดียวพี่ดักดัก ใจจอด แม่แม่. (นิ. นรินทร์), อะดัก ก็ว่า.

ใหญ่

หมายถึงว. โต เช่น พี่คนใหญ่, คนโต เช่น เขยใหญ่, มีขนาดโตกว่าหรือสำคัญกว่าเป็นต้นเมื่อเปรียบเทียบกัน เช่น ข่าวใหญ่ สงครามใหญ่, มีขนาดไม่เล็ก เช่น บ้านหลังใหญ่; รุนแรงมาก, อุตลุด, เช่น ทะเลาะกันใหญ่ ชกกันใหญ่.

ฮา

หมายถึงก. หัวเราะเสียงดังพร้อม ๆ กันเพราะขบขันหรือชอบใจ เช่น นักเรียนฮากันทั้งห้อง. ว. อาการหัวเราะของคนหมู่มากเพราะขบขันหรือชอบใจ เช่น เสียงฮา. อ. คำสร้อยที่ใช้ในบทร้อยกรอง เช่น แม่ฮา พี่ฮา.

ริม

หมายถึงน. ชาย, ขอบ, เช่น ริมคลอง ริมผ้า ริมโต๊ะ. บ. ใกล้, ชิด, เช่น นั่งริมหน้าต่าง. ว. ด้านนอก เช่น น้องนอนกลาง พี่นอนริม; (ปาก) เกือบ, จวน, เช่น ริมตาย.

สิ้นฝีมือ

หมายถึงว. เต็มความสามารถที่มีอยู่; หมดความสามารถ; หมดฝีมือ ก็ว่า; ไม่มีใครเทียบความสามารถได้ เช่น ม่านนี้ฝีมือวันทองทำ จำได้ไม่ผิดนัยน์ตาพี่ เส้นไหมแม้นเขียนแนบเนียนดี สิ้นฝีมือแล้วแต่นางเดียว. (ขุนช้างขุนแผน).

กวางเดินดง

หมายถึงน. ชื่อวิธีรำท่าหนึ่งอยู่ในลำดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน); ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง เช่น อกเอ๋ยอกประหลาดจริงที่นิ่งเฉย โอ้เอ๋ยผิดคิดไม่เห็นจะเป็นเลย เสียดายเอ๋ยที่พี่เคยสงวนงาม. (กลบท).

ห่อน

หมายถึงว. เคย เช่น ไป่ห่อนเหลือคิดข้า คิดผิด แม่นา. (ลอ), ในคำประพันธ์บางคราวใช้แทน ไม่ เช่น สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ. (เห่ชมนก).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ