ตัวกรองผลการค้นหา
คุ้มโทษ
หมายถึง(โบ) ก. ได้รับความคุ้มกันที่จะไม่ต้องถูกลงโทษ เช่น อหนึ่งผู้ตามโจรได้รบพุ่งฟันแทงมีบาดเจบท่านว่าคุ้มโทษ. (สามดวง).
ปรับ
หมายถึง[ปฺรับ] ก. เปรียบ, เทียบ; ทำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะหรือดีขึ้น, ทำให้เรียบ, ทำให้เสมอ; ลงโทษให้ใช้เงินเพราะทำผิด, ลงโทษให้เป็นแพ้; (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ต้องโทษต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล หรือตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบ เรียกว่า โทษปรับ.
บีบขมับ
หมายถึงก. เอาไม้คาบเข้าที่ขมับทั้ง ๒ ข้าง แล้วผูกรวบรัดหัวท้ายไม้คาบนั้นเข้าด้วยกัน เป็นวิธีลงโทษในสมัยโบราณแบบหนึ่ง.
ไล่ลูกฆ้อง
หมายถึงก. ปรับเสียงลูกฆ้องไม่ให้แปร่ง; โดยปริยายหมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวหรือลงโทษเรียงตัวตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว.
ยมบาล
หมายถึงน. เจ้าพนักงานเมืองนรก มีหน้าที่ลงโทษทรมานคนที่ตกนรกตามคำสั่งของพญายม. (ป. ยมปาล ว่า ผู้รักษานรก).
ประเคราะห์
หมายถึง(แบบ) น. ความเพียรที่แก่กล้า; การยกย่อง, การเชิดชู, ตรงข้ามกับ นิเคราะห์ ซึ่งแปลว่า การกำราบ, การลงโทษ, การข่มขี่. ก. ยกย่อง, ประคับประคอง. (ส. ปฺรคฺรห; ป. ปคฺคห).
กฎหมายอาญา
หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น. (อ. criminal law).
โทษทางอาญา
หมายถึง(กฎ) น. มาตรการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา ได้แก่ การประหารชีวิต การจำคุก การกักขัง การปรับและการริบทรัพย์สิน.
ราชทัณฑ์
หมายถึงน. อาญาพระเจ้าแผ่นดิน, โทษหลวง, เช่น ต้องราชทัณฑ์, เรียกกรมที่มีหน้าที่ลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดตามตัวบทกฎหมายควบคุมอบรมฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้กระทำผิด พักการลงโทษและคุมประพฤติ และขอพระราชทานอภัยโทษ ปลดปล่อยและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ เป็นต้น ว่า กรมราชทัณฑ์. (ป., ส.).
รมควันเด็ก
หมายถึงน. วิธีลงโทษเด็กที่ดื้อมาก ๆ อย่างหนึ่ง โดยเอากาบมะพร้าวแห้งเผาไฟให้ควันรมหน้ารมตาเด็กเพื่อให้สำลักควันจะได้เข็ด.
สอบสวน
หมายถึง(กฎ) ก. รวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการอย่างอื่นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ.
ศาลทหาร
หมายถึง(กฎ) น. ศาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด และมีอำนาจสั่งลงโทษบุคคลใด ๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.