ตัวกรองผลการค้นหา
กันลอง
หมายถึงก. กระโดด, ข้าม, ผ่าน. ว. เลิศ, ยิ่ง; ล่วง, พ้น, เช่น มหาโพยมกันลอง. (กล่อมช้างของเก่า). (ข. กนฺลง).
กี้,กี๊
หมายถึงน. เวลาที่ล่วงไปหยก ๆ, มักใช้ประกอบกับคำ เมื่อ เมื่อแต่ หรือ เมื่อตะ เป็น เมื่อกี้ เมื่อแต่กี้ เมื่อตะกี้ หรือ เมื่อกี๊ เมื่อแต่กี๊ เมื่อตะกี๊.
อติ
หมายถึง[อะติ] คำนำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตให้มีใจความว่า พิเศษ, ยิ่ง, มาก, เลิศล้น; ผ่าน, ล่วง, พ้นเลยไป, เขียนเป็น อดิ ก็มี. (ป., ส.).
ล้ำ
หมายถึงก. ล่วงเข้าไปเกินเขตที่กำหนด เช่น ล้ำเขตแดน ล้ำแดนข้าศึก. ว. ยิ่ง, ล้น, เช่น สูงล้ำ ปัญญาล้ำ.
กะล่อยกะหลิบ
หมายถึงว. คล่องแคล่วว่องไวในการใช้มืออย่างแนบเนียนน่าดู; ดูเหมือนเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง, ดูเหมือนไม่นาน, เช่น ดูกะล่อยกะหลิบเมื่อไม่นานมานี่เอง ล่วงเข้ามาหลายเดือนแล้ว.
เมื่อ
หมายถึงน. ครั้ง, คราว, เช่น เรื่องนี้เกิดเมื่อเขาไปต่างจังหวัด, โอกาส เช่น พบได้ทุกเมื่อ, ขณะที่ เช่น เมื่อเขาออกจากบ้าน ฝนก็ตก, คำนำหน้าคำบอกเวลาที่ล่วงไปแล้ว เช่น เมื่อคืนนี้ เมื่อเช้านี้ เมื่อวานซืน. สัน. ในขณะที่ เช่น เขามาเมื่อฉันเห็น.
กฎหมายแพ่ง
หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิด ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. (อ. civil law).
เสรีภาพ
หมายถึงน. ความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้ตามที่ตนปรารถนาโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง เช่น เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการนับถือศาสนา, ความมีสิทธิที่จะทำจะพูดได้โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น.
แล้ว
หมายถึงว. ลักษณะอาการกระทำใด ๆ เสร็จ สิ้น จบ ล่วงไป หรือสุดสิ้นลง เช่น กินแล้ว ทำแล้ว นอนแล้ว หรือต่อแต่นั้นเริ่มใหม่อีกระยะหนึ่ง (จะเป็นการกระทำอย่างเดียวกันหรือต่างกันแล้วแต่กรณี) เช่น กินแล้วนอน ขึ้นรถแล้วลงเรือ.
ล่วงเกิน
หมายถึงก. แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณีหรือจรรยามารยาทด้วยการลวนลาม ดูหมิ่น สบประมาท เป็นต้น เช่น ไม่ควรล่วงเกินพ่อแม่ด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.
เหยียบย่ำ
หมายถึงก. ละเมิดให้เสียหาย, ย่ำยีด้วยความดูถูก เช่น อย่าเหยียบย่ำคนจน. น. เอกสารซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่ดินว่างเปล่า มีเงื่อนไขให้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น เรียกว่า ใบเหยียบยํ่า.
พึ่ง
หมายถึงว. คำช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น เขาพึ่งไป, เพิ่ง ก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง เพิก หรือ เพ่อ ก็ว่า.