ตัวกรองผลการค้นหา
วิริยะ
หมายถึงน. ความเพียร, ความบากบั่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อุตสาหะ เป็น วิริยอุตสาหะ; ความกล้า; วิริยภาพ ก็ใช้. (ป.; ส. วีรฺย).
อาชญัปติ,อาชญัปติ์
หมายถึง[อาดยับติ, อาดยับ] น. ข้อบังคับ, คำสั่ง, กฎ, ใช้ว่า อาญัปติ์ ก็มี เช่น รัตนาญัปติ์. (ส. อาชฺปฺติ; ป. อาณตฺติ).
อาณัติ
หมายถึง[อานัด] น. ข้อบังคับ, คำสั่ง, กฎ, เครื่องหมาย; การมอบหมายให้ดูแลปกครอง เช่น อาณาเขตในอาณัติ ดินแดนในอาณัติ. (ป. อาณตฺติ).
กระดก
หมายถึง(โบ; กลอน) ก. ตระหนก, กลัว, เช่น ก็กระดกตกใจกลววแก่มรณภยานตราย. (ม. คำหลวง ชูชก).
วัฏจักร
หมายถึงน. ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์หรือกิจกรรมชุดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นและดำเนินติดต่อกันไปอย่างมีระเบียบจนจบลง ณ จุดเริ่มต้นนั้นอีก เช่น วัฏจักรแห่งฤดูกาล วัฏจักรแห่งพืช.
สวามิ,สวามี
หมายถึง[สะหฺวา-] น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย; ผัว, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสวามี; เจ้าของ. (ส. สฺวามี, สฺวามินฺ; ป. สามิ).
ไวกูณฐ์
หมายถึงน. ที่ประทับพระนารายณ์ เช่น ผู้สิง ณ ไวกูณฐ์. (มัทนะ). (ส.); (โบ) พระนารายณ์ที่แบ่งภาคลงมา เช่น ซึ่งจะให้นารายณ์ลงไป ก็ต้องในไวกูณฐ์อวตาร. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
มหาภารตะ
หมายถึง[มะหาพาระตะ] น. ชื่อบทประพันธ์มหากาพย์เรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งของอินเดีย, คู่กับ รามายณ คือ รามเกียรติ์. (ส.).
บริษัท
หมายถึง[บอริสัด] น. หมู่, คณะ, เช่น พุทธบริษัท, ที่ประชุม เช่น จะพูดอย่างไรต้องดูบริษัทเสียก่อน. (ส. ปริษทฺ; ป. ปริสา).
ทัฬหิกรณ์
หมายถึง[ทันหิกอน] น. เครื่องทำให้มั่น ได้แก่ข้อความที่ชักมาอ้างเพื่อให้คำพูดของตนมั่นคง. (ป. ทฬฺหีกรณ).
ธาตุมมิสสา
หมายถึง[ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสำแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุขเสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตำรากลอน).
จุดเดือด
หมายถึงน. อุณหภูมิขณะที่ความดันสูงสุดของไอของของเหลวเท่ากับความกดของบรรยากาศ ณ อุณหภูมินี้ ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอได้ทั่วทั้งหมด. (อ. boiling point).