ค้นเจอ 274 รายการ

เลินเล่อ

หมายถึงก. ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ เช่น เด็กคนนี้เลินเล่อ ทำกระเป๋าสตางค์หล่นหายโดยไม่รู้ตัว. ว. อาการที่ขาดความระวังหรือไม่รอบคอบในสิ่งที่ควรกระทำ เช่น นาย ก ทำงานเลินเล่อ มีข้อผิดพลาดมาก.

โลกวัชชะ

หมายถึง[โลกะ-] น. โทษทางโลก, อาบัติที่เป็นโทษทางโลก, ข้อเสียหายที่ชาวโลกติเตียนว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ คือ สิ่งที่ภิกษุหรือคนทั่วไปที่ไม่ใช่ภิกษุทำ ก็เป็นความผิดความเสียหายเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท. (ป.).

กระดูกสันหลัง

หมายถึงน. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของลำตัว เป็นแกนของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่บริเวณคอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สำคัญ, ส่วนที่เป็นพลังคํ้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ.

ทิฏฐุชุกรรม

หมายถึง(แบบ) น. การทำความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).

ปลด

หมายถึง[ปฺลด] ก. เอาออก (ใช้แก่สิ่งที่เกี่ยวอยู่ แขวนอยู่ คล้องอยู่ หรือขัดอยู่ เป็นต้น) เช่น ปลดม่านที่แขวนอยู่ ปลดห่วงที่เกี่ยวอยู่ ปลดลูกดุมที่ขัดอยู่; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้พ้นจากข้อผูกพันหรือพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ เช่น ปลดหนี้ ปลดออกจากราชการ.

สรตะ

หมายถึง[สะระ-] น. การคาดคะเนตามเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการพนัน มีหวย ถั่ว โป เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า การคาดคะเนตามข้อสังเกตหรือสันนิษฐาน, การเก็งหรือการคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก, เช่น คิดสรตะแล้วงานนี้ขาดทุน, เขียนเป็น สะระตะ ก็มี.

หวาน

หมายถึงว. มีรสอย่างรสนํ้าตาล; เพราะ เช่น หวานหู เสียงหวาน, ชุ่มชื่น, ที่รัก เช่น หวานใจ; น่ารักชวนมอง เช่น หน้าหวาน; อ่อนสดใส ในคำว่า สีหวาน; (ปาก) ที่ทำได้ง่าย, ที่ทำได้สะดวก, เช่น เลขข้อนี้หวานมาก. ก. ชำรุดไม่กินเกลียวกัน ในคำว่า เกลียวหวาน.

คำมั่น

หมายถึง(กฎ) น. การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำมั่นที่มีผลผูกพันผู้ให้คำมั่นเมื่อมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่น อันเป็นความผูกพันก่อนเกิดสัญญาที่มุ่งประสงค์จะทำระหว่างกัน เช่น คำมั่นว่าจะซื้อหรือขาย คำมั่นไม่จำเป็นต้องมีการเสนอให้มีการตกลงทำสัญญาเสมอไป อาจมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่นหรือไม่มีผู้แสดงเจตนารับรู้ก็นับว่าเป็นคำมั่นได้ เช่น คำมั่นว่าจะให้รางวัล.

ยื่น

หมายถึงก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุขยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการให้พูดให้ทำว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น.

ศีล

หมายถึง[สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม); พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี; ป. สีล).

อุทธรณ์

หมายถึง[อุดทอน] น. การยกขึ้น, การรื้อขึ้น, การเคลื่อนที่, การเสนอ, การนำมาให้; ชื่อศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น เรียกว่า ศาลอุทธรณ์. ก. (กฎ) ยื่นฟ้องหรือยื่นคำร้องต่อศาลสูงคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น; ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่; ร้องเรียน, ร้องทุกข์, เช่น ร้องอุทธรณ์. (ป., ส. อุทฺธรณ).

ภูตคาม

หมายถึง[พูตะ-] น. พืชพันธุ์อันอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด คือ พืชที่เกิดจากเหง้า ๑ ที่เกิดจากต้น ๑ ที่เกิดจากข้อ ๑ ที่เกิดจากยอด ๑ และที่เกิดจากเมล็ด ๑, คู่กับ พืชคาม คือ พืชพันธุ์ที่แม้จะถูกพรากจากที่แล้ว ก็ยังจะเป็นได้อีก. (ป.; ส. ภูตคฺราม ว่า สิ่งทั้งปวง, สิ่งที่เกิดแล้วทั้งปวง).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ