ค้นเจอ 348 รายการ

กาฬ,กาฬ-

หมายถึง[กาน, กาละ-, กานละ-] น. รอยดำหรือแดงที่ผุดตามร่างกายคนเมื่อตายแล้ว. ว. ดำ, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ป.).

ตาโป่ง

หมายถึงน. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย).

ออกไท้

หมายถึง(โบ; กลอน) น. คำเรียกผู้เป็นใหญ่ หมายถึง กษัตริย์ เช่น คิดปรานีออกไท้ รอยราชละห้อยไห้ ถึงลูกแลนะหัว ลูกเอยฯ. (ลอ).

กำราก,กำหราก

หมายถึงน. ช้างตกมัน เช่น หยาบคายฉายฉัดถีบแทง กำรากร้ายแรง แลเหลือกำลังควาญหมอ. (ดุษฎีสังเวย), กลจะขี่ช้างกำหรากเหลือลาม. (ตำราขี่ช้าง).

ฉัยยา

หมายถึง(กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง). (ดู ชายา ๒).

สลับสล้าง

หมายถึง[สะหฺลับสะล่าง] ว. เรียกลักษณะต้นไม้ที่ขึ้นเป็นดง มองจากที่สูงแลเห็นยอดสูง ๆ ต่ำ ๆ เช่น ขึ้นไปบนยอดเขา เห็นต้นไม้ขึ้นสลับสล้างเต็มไปหมด.

ชนมาพิธี,ชนมายุพิธี

หมายถึง[ชนนะ-] น. อายุ, อายุขัย, กำหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล. (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน. (ม. คำหลวง ทศพร). (พิธี ว่า กำหนด).

กรรบาสิกพัสตร์

หมายถึง[กับบาสิกะ-] น. ผ้าอันทอด้วยฝ้าย คือ ผ้าฝ้าย. (ใน ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์ ว่า มาแต่แคว้นกาสี). (ส. วสฺตฺร ว่า ผ้า).

กรรณ

หมายถึง[กัน] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ. (ส. กรฺณ).

ทรรป

หมายถึง[ทับ] น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, เช่น แลมาให้แก่บาคค่อมขวลทรรป. (ม. คำหลวง ชูชก), ทัป ก็ว่า. (ส. ทรฺป; ป. ทปฺป).

กันเมียง

หมายถึงน. เด็ก, โบราณเขียนเป็น กันมยง เช่น แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี อันกันมยงทักแท่ให้แต่งแง่ดูงาม. (ม. คำหลวง ทศพร). (ข. เกฺมง = เด็ก).

กาฬปักษี

หมายถึง[กาละ-] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เป็นเมื่อมารดาออกไฟแล้วได้ ๕ เดือน ยังอยู่ในเขตเรือนไฟ มีอาการร้องไห้แล้วหอบ หรือร้องไห้เมื่อหลับ สะดุ้งผวาตื่นตกใจ. (แพทย์).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ