ตัวกรองผลการค้นหา
ย้ำ,ย้ำ ๆ
หมายถึงก. พูดหรือทำซํ้า ๆ (เพื่อเน้นให้แน่น ให้กระชับ ให้มั่นคง) เช่น พูดยํ้า ยํ้าหัวตะปู. ว. อาการที่กัดเบา ๆ เพียงให้บุบหรือเป็นรอยช้ำ เช่น หมากัดย้ำ แต่ไม่เข้า เคี้ยวพอย้ำ ๆ.
จรรจา
หมายถึง[จัน-] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
เขือ
หมายถึง(กลอน) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่. (ลอ).
เรียงพี่เรียงน้อง
หมายถึงว. เป็นลูกพี่ลูกน้องกันตามลำดับศักดิ์ คือผู้เป็นพี่มีบุตร บุตรนั้นเรียกว่าลูกผู้พี่ น้องมีบุตร บุตรนั้นเรียกว่าลูกผู้น้อง บุตรทั้งสองฝ่ายนั้นเรียกว่า เรียงพี่เรียงน้องกัน.
สนิทสนม
หมายถึงก. ชอบพอ, คุ้นเคยกันดี, เช่น สองคนนี้สนิทสนมกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก. ว. แนบเนียน เช่น เขาพูดเท็จได้อย่างสนิทสนม เขาชำระแผลให้คนเป็นโรคเรื้อนได้อย่างสนิทสนมโดยไม่รังเกียจ.
กบ
หมายถึงน. เครื่องมือช่างไม้สำหรับไสไม้ ทำหน้าไม้ให้เรียบ ให้เป็นราง หรือลอกบัว ลอกลวด มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบรรทัด กบบัว; อุปกรณ์ใช้เหลาดินสอ.
ขลัง
หมายถึง[ขฺลัง] ว. มีกำลังหรืออำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้, มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่า อาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์. น. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ในนั้นปูอิฐวางขลัง. (สิบสองเดือน).
เงือด,เงือดงด
หมายถึงก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคำรบสองคาบสามคาบ. (จารึกสยาม), จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้. (สังข์ทอง).
ตะโพน
หมายถึงน. กลองสองหน้า รูปหัวสอบท้ายสอบกลางป่อง ขึงด้วยหนังทั้ง ๒ หน้า มีขารอง ตีด้วยฝ่ามือ.
ดิรัจฉาน
หมายถึง[-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคำด่า), ใช้ว่า เดรัจฉาน หรือ เดียรัจฉาน ก็มี. (ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง, ติรจฺฉานคต ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).
ศาลาสรง
หมายถึง[-สง] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ศาลาขนาดย่อมมุงหลังคาและมีฝากั้นมิดชิด ใช้เป็นที่สรงนํ้าพระสงฆ์ที่เคารพนับถือ ปฏิบัติกันในเทศกาลสงกรานต์โดยทำรางนํ้ารูปนาคพาดเข้าไปในศาลา เวลาสรงนํ้าพระให้เทนํ้าลงบนรางนั้น.
กฤดีกา,กฤตยฎีกา
หมายถึง[กฺริ-, กฺริดตะยะ-] แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต. (ม. คำหลวง กุมาร), ชำระกฤตยฎีกา. (ไวพจน์พิจารณ์).