ค้นเจอ 370 รายการ

บัพพาช

หมายถึง[บับพาด] (แบบ) ก. ขับไล่ เช่น พระสญชัยยินราษฎร์ แกล้งบัพพาชกูไกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ปพฺพาช).

ไต

หมายถึง(สรีร) น. อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับนํ้าปัสสาวะ; สิ่งซึ่งเป็นก้อนแข็งอยู่ในเนื้อ.

เพลงเสมอ

หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินระยะใกล้ เช่น เสมอตีนนก เสมอนาง เสมอมาร.

ปะหงับ,ปะหงับ ๆ

หมายถึงว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงเหมือนอยากจะพูดแต่ไม่มีเสียง, อาการที่ทำปากหงับ ๆ อย่างอาการของผู้ป่วยใกล้จะตาย เช่น นอนเจ็บปะหงับ ๆ.

รุ่ง

หมายถึงน. ระยะเวลาตอนเริ่มแรกแห่งวัน เช่น รุ่งอรุณ รุ่งเช้า ยันรุ่ง ตลาดโต้รุ่ง, เวลาสว่าง เช่น ใกล้รุ่ง. ว. สว่าง เช่น ฟ้ารุ่ง, อรุณรุ่ง.

ปะงาบ,ปะงาบ ๆ

หมายถึงว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), งาบ ๆ พะงาบ หรือ พะงาบ ๆ ก็ว่า.

ดิ่งพสุธา

หมายถึงน. เรียกการกระโดดร่มจากที่สูงโดยให้ตัวลอยอยู่ในอากาศก่อน เมื่อใกล้พื้นดินประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร จึงกระตุกสายร่มให้กางออก ว่า กระโดดร่มแบบดิ่งพสุธา.

ไวพจน์

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน)

หยิกเล็บเจ็บเนื้อ

หมายถึง(สำ) เมื่อกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิดก็จะมีผลกระทบถึงตัวผู้กระทำหรือคนในพวกเดียวกันด้วย เช่น ฟ้องร้องพี่น้องกันเองเป็นการหยิกเล็บเจ็บเนื้อ.

หายหัว

หมายถึงก. หายไปนาน เช่น ใช้ให้ไปซื้อของใกล้ ๆ แค่นี้ หายหัวไปไหนมา, หลบลี้หนีหน้า เช่น พอจะใช้ให้ทำงานก็หายหัวไปเลย, หายตัว หรือ หายหน้า ก็ว่า.

อุปะ

หมายถึง[อุปะ, อุบปะ] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า เข้าไป, ใกล้, รอง, เช่น อุปราช อุปนายก. (ป., ส.).

ขุก

หมายถึงว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลำบากขึ้นทันที. ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ