ตัวกรองผลการค้นหา
พระเชษฐา, พระเชษฐภาดา,พระเชษฐภาตา
หมายถึงพี่ชาย ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และเจ้านายหมายถึง พี่ ที่ใช้เป็นกลางๆ
พระบรมสาทิสลักษณ์
หมายถึงสาทิส (สา-ทิ-สะ) แปลว่า เหมือนหรือคล้าย กับคำว่า ลักษณ์ แปลว่า รูปหรือรูปร่าง เมื่อรวมกันเป็น สาทิสลักษณ์ จึงแปลว่า ภาพวาดเหมือน
กระดาษไข
หมายถึงน. กระดาษอาบไขที่ใช้ในการทำแบบ ลวดลาย หรือพิมพ์อัดสำเนาแม่พิมพ์ในการพิมพ์โดยเครื่องอัดสำเนา.
กระดาษฟาง
หมายถึงน. กระดาษที่ทำจากฟางข้าว เนื้อบางฟ่าม.
กริยาวิเศษณ์วลี
หมายถึง(ไว) น. ท่อนความที่มีคำกริยาวิเศษณ์ที่พ่วงบุรพบทเข้าขยายกริยา เช่น ม้าวิ่งไปข้างโน้น ความที่ขีดสัญประกาศนั้นเป็นกริยาวิเศษณ์วลี.
กฤษฎีกา
หมายถึง[กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากำหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย.
กษัตริย์
หมายถึง[กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่ ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ; ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทำด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทำด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
กษัตรีย์
หมายถึง[กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
กษัยกล่อน
หมายถึงน. ชื่อโรคทางตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ผอมแห้ง ซึ่งเกิดจากโรคกล่อน, เขียนเป็น กระษัยกล่อน ก็มี.
กษีรรส
หมายถึงน. นํ้านม เช่น เปรียบเหมือนกษีรรสคือนํ้านมสดขาวสะอาด. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ).
กัษณ
หมายถึง[กัดสะหฺนะ] (กลอน) น. กษณะ, ขณะ, เช่น ในเมื่อกาลกัษณ. (ม. คำหลวง สักบรรพ).
กาบุรุษ
หมายถึง[กาบุหฺรุด] (แบบ) น. คนเลว. (ส. กาปุรุษ; ป. กาปุริส).