ค้นเจอ 637 รายการ

หงัก ๆ

หมายถึงว. อาการที่สั่นสะท้าน; อาการที่เดินสั่น ๆ มา, งั่ก ๆ ก็ว่า.

หน้าฉาน,หน้าที่นั่ง

หมายถึงน. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น อย่าเดินตัดหน้าฉาน แสดงหน้าที่นั่ง.

ฮึย,ฮึย ๆ

หมายถึงอ. เสียงร้องไล่หรือกระตุ้นเพื่อเร่งวัวควายให้เดินหรือวิ่ง.

พรมทาง

หมายถึงน. พรมเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่ใช้ปูเป็นลาดพระบาทหรือทางเดิน.

ย่องแย่ง

หมายถึงว. ไม่ถนัด, ไม่แข็งแรง, (ใช้แก่อาการเดินที่เหยียบไม่ถนัด), กระย่องกระแย่ง ก็ว่า.

ยวบยาบ

หมายถึงว. อาการเดินหนัก ๆ ช้า ๆ ทำให้พื้นไหวเยือก ๆ, อาการที่พื้นยุบขึ้นยุบลง เช่น เดินบนพื้นฟากยวบยาบ.

ลอยชาย

หมายถึงว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้าลอยชาย; กรีดกราย เช่น เดินลอยชายไม่ทำอะไรเลย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีผู้ขัดขวาง เช่น ข้าศึกเดินลอยชายเข้าเมือง.

อักษรสาส์น

หมายถึง[อักสอระสาน, อักสอนสาด] น. จดหมายของประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่า อักสอนสาน) ก็ได้.

กรี

หมายถึง[กฺรี] (กลอน) ย่อมาจาก กรีธา เช่น ให้เรานี้กรีพลออกเดินไพร. (อิเหนา).

ตะรัง

หมายถึงก. ดั้นไป, เดาไป, ตะบึงไป, เช่น แล้วดำเนินเดินดุ่มสุ่มตะรัง. (คาวี).

ปัจฉาสมณะ

หมายถึงน. สมณะผู้ตามหลัง คือ พระผู้น้อยมีหน้าที่เดินตามหลังพระผู้ใหญ่. (ป.).

อุปเทศ

หมายถึง[อุปะเทด, อุบปะเทด] น. การชี้แจง, การสั่งสอน, การแนะนำ; คำสั่งสอน, คำชี้แจง, คำแนะนำ. ก. สอน, ชี้แจง, แนะนำ. (ส., ป. อุปเทส).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ