ค้นเจอ 347 รายการ

ประชด

หมายถึงก. แกล้งทำให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี.

ฟ่อง

หมายถึงว. อาการที่ลอยสูง เด่น หรืออยู่ตามลำพัง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ลอย เป็น ลอยฟ่อง, เช่น หมาตายลอยฟ่อง ลูกโป่งลอยฟ่องอยู่บนท้องฟ้า.

ทรสองทรสุม

หมายถึง[ทอระสองทอระสุม] (กลอน) ก. ซ่องสุม, ประชุมกัน, เช่น ดูทรสองทรสุมผกา. (ม. คำหลวง มหาพน).

ถึก

หมายถึงว. เปลี่ยว, หนุ่ม, (ใช้แก่วัวควายตัวผู้) เช่น วัวถึก ควายถึก (ไทยเดิมใช้หมายความว่า ตัวผู้, ถ้าตัวเมียใช้ แม่ เช่น ม้าแม่ หมาแม่).

แผด

หมายถึง[ผะแด] น. บท (ใช้ในกลอน) เช่น จบสิบสองกำนัน ครูไม้หนึ่ง ๑๔ แผด. (กาพย์ขับไม้). (ข.).

หุบผาชัน

หมายถึงน. หุบผาลึกเกิดเพราะน้ำกัดเซาะอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นร่องลึกลงไป เหลือหน้าผาสองด้านสูงชัน.

ขอบ

หมายถึงก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง. (ตะเลงพ่าย), ภายในสองนางขอบ, ธขอบคำความมนตรี. (ลอ).

เงินแป

หมายถึง(โบ) น. เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย มีเงินแปราคาสองสลึง แปสลึง แปเฟื้อง. (ประชุม ร. ๔).

ชระลั่ง

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ทะลิ่นชระลั่งคอยนั่งเฝ้าพระบาท. (ม. คำหลวง กุมาร).

เคณฑะ

หมายถึง[เคนทะ] น. ลูกข่าง, ใช้ในคำว่า พระราชพิธีเคณฑะ คือ พระราชพิธีทิ้งข่าง. (สิบสองเดือน). (ป. เคณฺฑ).

ไม้หึ่ง

หมายถึงน. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้องวิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน.

ศรี

หมายถึง[สี] (กลอน) น. ลักษณนามใช้แก่คน เช่น พระปิตุราชมาตุรงค์ทรงพระสรวล เห็นสมควรคู่ครองกันสองศรี. (อภัย).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ