ตัวกรองผลการค้นหา
รถโดยสารประจำทาง
หมายถึง(กฎ) น. รถบรรทุกคนโดยสารที่เดินตามทางที่กำหนดไว้ และเรียกเก็บค่าโดยสารเป็นรายคนตามอัตราที่วางไว้เป็นระยะทางหรือตลอดทาง.
ชายพก
หมายถึงน. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ แล้วดึงชายข้างใดข้างหนึ่งให้มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เหน็บไว้ที่เอว ใส่เงินหรือหมากเป็นต้นได้.
ล่วม
หมายถึงน. เครื่องสำหรับใส่หมากพลูบุหรี่ ส่วนมากทำด้วยผ้า มีใบปก เป็นของใช้โบราณ แต่ที่ทำด้วยโลหะก็มี, ถ้าเป็นของเจ้านาย เรียกว่า พระล่วม, สำหรับใส่ยา เรียกว่า ล่วมยา.
กงพัด
หมายถึงน. ไม้เหลี่ยมสอดในรูซึ่งเจาะที่โคนเสาเรือน ปลายทั้ง ๒ ยื่นออกมาวางอยู่บนหมอน (ซึ่งเรียกว่า งัว) ข้างละต้น, หรือถ้าไม่เจาะรู ก็ใช้เป็น ๒ อัน ตีขวางขนาบโคนเสาข้างละอันวางอยู่บนหมอนเหมือนกัน เพื่อกันทรุด.
ตุ๊กตาเสียกบาล
หมายถึง[-เสียกะบาน] น. ตุ๊กตาที่ใส่กระบะกาบกล้วยพร้อมทั้งเครื่องเซ่นผีแล้วนำไปวางไว้ที่ทางสามแพร่งหรือลอยนํ้า.
ตะเภา
หมายถึงน. (๑) เรียกอ้อยพันธุ์ที่ลำโต ปล้องสั้น สีขาว เปราะ ว่า อ้อยตะเภา, อ้อยสำลี ก็เรียก. (๒) ชื่อหมากพันธุ์ต้นเตี้ย.
ข้าวประดับดิน
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. อาหารที่เอาไปวางไว้ตามต้นโพและพระเจดีย์เป็นต้นในเวลาเช้ามืดวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๙.
รุมไฟ
หมายถึงก. เอาฟืนดุ้นใหญ่ ๆ วางทับลงบนกองไฟเพื่อให้ไฟติดกรุ่นอยู่เสมอ, สุมไฟ ก็ว่า.
กระโถนท้องพระโรง
หมายถึงน. กระโถนใหญ่ที่ตั้งไว้ที่ท้องพระโรงในศาลาลูกขุนใน สำหรับที่ใคร ๆ บ้วนน้ำหมากหรือทิ้งชานหมากได้; (สำ) ผู้ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้หรือผู้ที่ใคร ๆ ก็รุมใช้อยู่คนเดียว.
เนียน
หมายถึงน. กาบหมากที่เจียนให้มนขนาดเท่าฝ่ามือสำหรับตักนํ้าพริกจากครก, เปลือกจั่นมะพร้าวสำหรับแซะนํ้าตาลเมื่อเวลาเคี่ยว, โดยปริยายใช้เรียกที่สำหรับแซะหรือตัดขนม.
แคร่
หมายถึง[แคฺร่] น. ที่สำหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทำด้วยฟากหรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทำเสาเป็นเครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สำหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แคร่สำหรับวางเครื่องยนต์.
สนม
หมายถึง[สะหฺนม] น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตายกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนม. (ข. สฺนํ).