ตัวกรองผลการค้นหา
ห้ามพระแก่นจันทน์
หมายถึงน. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ซ้ายแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม.
ตาราง
หมายถึงน. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคำนำหน้าคำมาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส.
เตาะแตะ
หมายถึงว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินเตาะแตะ, กระเตาะกระแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; เรียกการเล่นการพนันหรือทำการค้าอย่างมีทุนน้อยแล้วต่อทุนให้มากว่า เล่นเตาะแตะ ค้าขายเตาะแตะ.
กระเตาะกระแตะ
หมายถึงว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินกระเตาะกระแตะ, เตาะแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; ป้อแป้, ไม่แข็งแรง, มักใช้แก่คนสูงอายุ เช่น คุณทวดเดินกระเตาะกระแตะ.
วิธี
หมายถึงน. ทำนองหรือหนทางที่จะทำ เช่น วิธีทำฝอยทอง วิธีสอนคณิตศาสตร์ เลขข้อนี้ทำได้หลายวิธี; แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำถูกวิธี; กฎ, เกณฑ์; คติ, ธรรมเนียม. (ป., ส. วิธิ).
สุดโต่ง
หมายถึงว. ไกลมาก, ปลายไกลสุด, เช่น บ้านของเขาอยู่สุดโต่ง ไปมาลำบาก แถวลูกเสือยาวเหยียดลูกผมยืนอยู่เสียสุดโต่ง เลยมองไม่เห็น; มากเกินขอบเขตที่ควรเป็น, ตึงหรือหย่อนเกินไป, เช่น การปฏิบัติสุดโต่ง.
อักษรบฏ
หมายถึง[อักสอระบด] น. แผ่นผ้าที่เขียนสระ พยัญชนะ ใช้ในการเรียนการสอนในสมัยโบราณ, ที่ใช้แผ่นกระดาษติดผ้าหรือแผ่นกระดาษแทนก็มี. (ส.).
อนุบาล
หมายถึงก. ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา. ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวังรักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาล; (กฎ) เรียกผู้ที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถว่า ผู้อนุบาล. (ป., ส. อนุปาล).
นวังคสัตถุศาสน์
หมายถึง[นะวังคะสัดถุสาด] น. คำสอนของพระศาสดา คือ พระพุทธเจ้า มีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. (ป.).
รูปเงา
หมายถึง(ศิลปะ) น. สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก ส่วนพื้นภายในมืดทึบ เช่น เห็นรูปเงาของบ้านเรือน ๒ ฝั่งแม่น้ำเมื่อยามตะวันยอแสง, รูปที่เห็นย้อนแสง เช่น รูปเงาคนยืนขวางตะวัน.
ล้วงกระเป๋า
หมายถึงก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วงกระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ไม่สุภาพ; ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.
ไตรปิฎก
หมายถึง[-ปิดก] น. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ตรีปิฎก ก็ว่า.