ค้นเจอ 265 รายการ

แขน

หมายถึงน. อวัยวะที่ต่อจากไหล่ทั้ง ๒ ข้าง, (ราชา) เรียกอวัยวะตั้งแต่ศอกไปถึงไหล่ว่า พระพาหา ตั้งแต่ศอกไปถึงมือว่า พระกร; เรียกสิ่งที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปแขน เช่น แขนเสื้อ ไม้เท้าแขน.

หน้าท้อง

หมายถึงน. ส่วนหน้าของท้อง ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา เช่น ฉีดเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้าที่หน้าท้องหลังจากถูกสุนัขกัด; โดยปริยายหมายถึงท้องที่ยื่นเพราะมีไขมันมาก เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยดี เสียแต่มีหน้าท้อง.

ห้ามสมุทร

หมายถึงน. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้างยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม ที่สร้างเป็นแบบพระทรงเครื่องก็มี.

ฆ้อง

หมายถึงน. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลม มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีปุ่มกลมตรงกลางสำหรับตี มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง.

ห้ามญาติ

หมายถึงน. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระกายตามปรกติ พระหัตถ์ขวาแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม.

เจาะจมูก

หมายถึงก. เจาะด้านหัวและท้ายของซุงเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายจมูกห่างจากหัวไม้ประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑๒.๕ เซนติเมตร แล้วเอาลวดหรือหวายร้อยเข้ากับคานแพซึ่งเป็นไม้ยาว ๆ ขวางลำกับท่อนซุงเพื่อผูกเป็นแพ.

โบรมีน

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๓๕ สัญลักษณ์ Br เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว สีแดงเข้ม ระเหยเป็นไอได้ง่าย มีกลิ่นฉุนจัด เป็นพิษ ระคายเยื่อจมูก เดือดที่ ๕๘.๘ °ซ. สารประกอบของโบรมีนใช้เป็นยาและใช้ในการถ่ายรูป. (อ. bromine).

ทรุด

หมายถึง[ซุด] ก. จมลงหรือลดลงกว่าระดับเดิมเพราะสิ่งรองรับมีกำลังต้านทานไม่พอ เช่น กำแพงทรุด สะพานทรุด, ยุบลง เช่น ดั้งจมูกทรุด, มีฐานะตกตํ่ากว่าเดิม เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจกำลังทรุดหนัก, เรียกอาการไข้ที่หนักลงไปกว่าเดิมว่า ไข้ทรุด.

เชิง

หมายถึงน. ตีนซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่งบางอย่าง เช่น เชิงเทียน เชิงเขา เชิงกำแพง, ชายหรือปลายของบางสิ่งบางอย่างที่ยื่นออกมา เช่น เชิงตะพาบนํ้า เชิงปลากราย เชิงเลน เชิงกลอน, ริมหรือชายด้านล่างของผ้าที่มีลวดลายเช่น เชิงผ้า เชิงผ้าซิ่น.

ค่อม

หมายถึงน. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hypomeces squamosus ในวงศ์ Curculionidae ลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวยื่นออกไปเป็นงวงสั้น ๆ ตัวและปีกสีเขียวเหลือบทอง, ค่อมทอง หรือ ทับเล็ก ก็เรียก.

หาง

หมายถึงน. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลำตัวสัตว์, ขนสัตว์จำพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ในราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้งเช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.

ขี้ยอก

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Mystacoleucus marginatus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลังออกไปข้างหน้า, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขตแม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ