ค้นเจอ 344 รายการ

สาร,สาร,สาร-,สาร-

หมายถึง[สาน, สาระ-] น. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น แก่นสาร; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. (ป., ส.).

เหม,เหม-

หมายถึง[เหมะ-] น. ทองคำ; ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า เหมหัตถี กายสีเหลืองดั่งทอง. (ดู กาฬาวก). (ป.); เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่างซึ่งมียอดแหลมปิดทอง; เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับบัวกลุ่ม.

กนก

หมายถึง[กะหฺนก] (แบบ) น. ทองคำ เช่น มาลากนก = มาลัยทอง, โดยมากใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาสเช่น กนกนัครา. (สมุทรโฆษ). (ป.; ส.).

กระจับปิ้ง

หมายถึงน. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทำด้วยเงิน ทอง หรือนากเป็นต้น, จะปิ้ง จับปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม. จะปิ้ง).

ชาดหรคุณ

หมายถึง[ชาดหอระ-] น. ชาดประสมกับปรอทและกำมะถันเพื่อจะให้ชาดจับแน่นกับเนื้อทองดุจกะไหล่และเพื่อจะให้สุก. (ลัทธิ).

สามกษัตริย์

หมายถึงน. รูปพรรณที่ในชิ้นเดียวกันมีทั้งทอง นาก และเงินสลับกัน โบราณถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้สวม เช่น สายสร้อยสามกษัตริย์ กำไลสามกษัตริย์.

จับปิ้ง

หมายถึงน. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทำด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จะปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม. จะปิ้ง).

ปิงคลหัตถี

หมายถึง[ปิงคะละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองอ่อนดั่งสีตาแมว. (ดู กาฬาวก).

กระหยับ

หมายถึง(กลอน) ก. ขยับ เช่น มือถือธนูกระหยับลั่น. (รามเกียรติ์ ร. ๑; ไกรทอง; สรรพสิทธิ์). (แผลงมาจาก ขยับ).

ประดาษ

หมายถึงว. ตกต่ำ เช่น โอ้ครั้งนี้มิได้เห็นเช่นฉลอง เพราะตัวต้องตกประดาษวาสนา. (นิ. ภูเขาทอง). (ข. ผฺฎาส ว่า ผิดระเบียบ นอกรีตนอกรอย).

ย้อมผม

หมายถึงก. ใช้ครีมหรือน้ำสีเป็นต้น ฉีดหรือพ่นให้ผมเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีดำ สีทอง สีเงิน.

เครื่องทองน้อย

หมายถึงน. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่นพระบรมอัฐิ มีเชิงเทียน ๑ เชิง เชิงธูป ๑ เชิง กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อย.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ