ตัวกรองผลการค้นหา
อัฐบริขาร
หมายถึงน. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. อฏฺปริขาร).
รัดประคด
หมายถึงน. ผ้าที่ใช้รัดอกหรือสายที่ถักด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับรัดเอวของภิกษุสามเณร, เรียกสั้น ๆ ว่า ประคด, ถ้าใช้รัดอก เรียกว่า ประคดอก, ถ้าใช้รัดเอว เรียกว่า ประคดเอว.
อุปสัมปทาเปกข์,อุปสัมปทาเปกษ์
หมายถึง[อุปะสำปะทาเปก, อุบปะสำปะทาเปก] น. “ผู้เพ่งอุปสมบท” คือ นาคที่บรรพชาเป็นสามเณรแล้วและจะขอบวชเป็นภิกษุต่อไป. (ป. อุปสมฺปทาเปกฺข; ส. อุปสมฺปทาเปกฺษ).
เจ้าประคุณ
หมายถึงน. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมาจาก เจ้าพระคุณ).
ท่าน
หมายถึงแทนผู้ที่พูดถึง
พุทธาวาส
หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกำแพงกันไว้ต่างหากจากส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่าสังฆาวาส, วัดที่สร้างขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว).
คำขึ้นต้น
หมายถึงน. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับแต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา; คำใช้ขึ้นต้นสำหรับร้อยกรองบางประเภท เช่น บัดนั้น เมื่อนั้น ครานั้น สักวา.
โคตรภู
หมายถึง[โคดตฺระพู] (แบบ) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลำดับอริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนา มีขนบธรรมเนียมห่างจากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. (ส. โคตฺรภู ว่า อ้างแต่เพศ ไม่มีคุณความดีของเพศ).
เถรภูมิ
หมายถึง[เถระพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ทางคณะสงฆ์จัดภิกษุเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕ ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ (ชั้นกลาง) มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙ และชั้นสุดคือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป.
ประคด
หมายถึงน. เครื่องคาดเอวหรืออกของพระภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นสายถักเป็นแผ่นสำหรับคาดเอว เรียกว่า ประคดเอว, ถ้าเป็นผืนผ้าสำหรับคาดอก เรียกว่า ประคดอก, รัดประคด ก็เรียก; ผ้าสำหรับคาดเอวทับเครื่องแบบขุนนางสมัยโบราณ.
บริขาร
หมายถึง[บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).
ปวารณา
หมายถึง[ปะวาระนา] ก. ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความเต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนายอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. (ป.).