ค้นเจอ 218 รายการ

บาก

หมายถึงก. ใช้สิ่งมีคมเช่นมีดหรือขวานเป็นต้นฟันสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นต้นไม้ให้เป็นแผลเป็นรอยหรือเป็นทางเข้าไป, โดยปริยายหมายความว่า มุ่งหน้าไป เช่น อย่ารู้มากบากหนีแต่ที่ง่าย. (พาลีสอนน้อง).

ปาทังกา

หมายถึงน. ชื่อตั๊กแตนชนิด Patanga succincta ในวงศ์ Acrididae ตัวยาว ๖-๗ เซนติเมตร กว้าง ๗-๘ มิลลิเมตร สีแตกต่างกันไปเป็นสีนํ้าตาล น้ำตาลแก่ แดงอมเขียว มีแถบสีครีมทอดจากหน้าไปสันหลังปล้องอกจนถึงปีก ใต้ตามีแถบสีครีมยาวเรียวรูปดาบ ปีกมีรอยจุดและรอยด่างกระจายทั่วไป อาจพบอยู่เดี่ยว ๆ หรือเป็นฝูง ทำลายพืชต่าง ๆ.

ย้ำ,ย้ำ ๆ

หมายถึงก. พูดหรือทำซํ้า ๆ (เพื่อเน้นให้แน่น ให้กระชับ ให้มั่นคง) เช่น พูดยํ้า ยํ้าหัวตะปู. ว. อาการที่กัดเบา ๆ เพียงให้บุบหรือเป็นรอยช้ำ เช่น หมากัดย้ำ แต่ไม่เข้า เคี้ยวพอย้ำ ๆ.

คราบ

หมายถึง[คฺราบ] น. หนังหรือเปลือกนอกของสัตว์บางชนิดที่ลอกออกได้ เช่น คราบงู คราบกุ้ง, โดยปริยายหมายถึงลักษณาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คนบาปในคราบของนักบุญ; รอยเปื้อนติดกรังอยู่ เช่น คราบนํ้า คราบนํ้ามัน.

สกลมหาสังฆปริณายก

หมายถึง[สะกนมะหาสังคะปะรินายก] (กฎ) น. ตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราชในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง ทรงมีอำนาจบัญชาการคณะสงฆ์ ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม.

ราชรถ

หมายถึง[ราดชะรด] น. ยานพาหนะชนิดล้อเลื่อน มีบุษบกเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบันมีอยู่ ๒ คัน คือ พระมหาพิชัยราชรถ กับ เวชยันตราชรถ ใช้ประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศ.

ไม้มอบ

หมายถึงน. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดูเรียบร้อยหรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน ๒ ด้านมาบรรจบกันหรือไม้ที่ตีประกบด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน.

ผนึก

หมายถึง[ผะหฺนึก] ก. ติดให้แน่น เช่น ผนึกซอง ผนึกตรา, อัดให้แน่นเป็นปึก เช่น ผนึกกระดาษหลาย ๆ แผ่นให้เป็นปึกเดียวกัน, ปิดให้แน่น เช่น ผนึกไห, รวมกันให้เป็นปึกแผ่น เช่น ผนึกกำลัง. น. การนำช้างเล็กไปโดยใช้ช้างใหญ่ขนาบไป; เครื่องใช้ที่มีลักษณะแคบสำหรับสอดใส่สิ่งของ.

ราน

หมายถึงก. ตัดหรือฟันกิ่งไม้ออก ในคำว่า รานกิ่ง. ว. มีรอยปริตื้น ๆ ทั่วไปบนพื้นผิวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หม้อราน ผนังราน กระเบื้องราน, แตกลายงา ก็ว่า.

ลูกขุน ณ ศาลหลวง

หมายถึง(โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่างศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะพิจารณาคดีแล้วขอคำตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.

สกัด

หมายถึงก. กั้น, ขวาง, เช่น สกัดหน้า; ตัดหรือกะเทาะของแข็งเช่นเหล็ก หิน ให้เป็นร่อง รอย ทะลุ หรือให้ขาดจากกัน, เรียกเหล็กที่ใช้ตัดหรือกะเทาะของแข็งเช่นนั้นว่า เหล็กสกัด; เค้นหรือแยกเอาออกมา เช่น สกัดนํ้ามัน สกัดน้ำหอมจากดอกกุหลาบ. (ข.).

เจ้าพนักงานภูษามาลา

หมายถึงน. ข้าราชการในราชสำนัก มีหน้าที่ถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกำ ทำสุกำ เปลื้องเครื่องสุกำศพ พระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกำศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวง เรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ