ตัวกรองผลการค้นหา
พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ
หมายถึง(สำ) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทำให้ผิดไปจากเดิมอย่างตรงกันข้าม, กลับหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
ทบทวน
หมายถึงก. ย้อนกลับทำซํ้าอีกเพื่อให้แม่นยำ เช่น ทบทวนตำรา, ทวนทบ ก็ว่า; พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เช่น ทบทวนนโยบาย.
หวานนอกขมใน
หมายถึง(สำ) ก. พูด ทำ หรือแสดงให้เห็นว่าดีแต่ภายนอก แต่ในใจกลับตรงข้าม.
ลืมคอน,ลืมรัง
หมายถึงก. ลืมกลับบ้าน, ลืมบ้านเรือน, เช่น เที่ยวเสียจนลืมรัง.
ง่า
หมายถึงน. เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปยักษ์หรือลิงในท่าเหาะ ว่า หนังง่า. (ลัทธิ).
แวบ,แว็บ
หมายถึงว. ปรากฏให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่งก็หายไป เช่น แสงไฟจากรถดับเพลิงแวบเข้าตา มาเดี๋ยวเดียวแว็บไปแล้ว. ว. อาการที่ปรากฏให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่ง เช่น ไปแวบเดียวกลับมาแล้ว เพิ่งมาได้แว็บเดียวจะกลับแล้วหรือ.
ผืน
หมายถึงน. เรียกสิ่งที่มีลักษณะแบนเป็นแผ่นอย่างผ้า หนังหรือเสื่อ เป็นต้น มีขนาดเต็มตามกำหนดและอาจม้วนหรือพับได้เช่นผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสื่อ พรม และหนัง ว่า ผืนผ้า ผืนหนัง เป็นต้น; ใช้เป็นลักษณนาม เช่น ผ้า ๓ ผืน เสื่อ ๒ ผืน; เรียกแผ่นดินทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ผืนแผ่นดิน แผ่นดินผืนนี้ ที่ดินผืนนั้น.
ตาตี่
หมายถึงน. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทำให้เบิกตากว้างไม่ได้.
รองช้ำ
หมายถึงน. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเป็นตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า มีนํ้าใส ๆ อยู่ระหว่างหนังชั้นนอกกับเนื้อ.
หมูหัน
หมายถึงน. ลูกหมูผ่าเอาเครื่องในออก เสียบเหล็กหมุนย่างจนหนังสุกกรอบ.
ตจปัญจกกรรมฐาน
หมายถึง[ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไปถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
ย้อนต้น
หมายถึงก. กลับถอยหลังไปที่ตอนต้น, หวนไปข้างต้น, เช่น อ่านหนังสือย้อนต้น.