ตัวกรองผลการค้นหา
หนักหัวกบาล
หมายถึง(ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ฉันจะไปที่ไหน ก็ไม่เห็นจะหนักหัวกบาลใคร, หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัว ก็ว่า.
กลา
หมายถึง[กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งดวงเดือน, ดวงเดือน; ระเบียบพิธีของการบูชา เช่น ไปคำนับศาลสุรากลากิจ. (อภัย), ใช้ว่า กระลา ก็มี. (ป., ส.).
หนักกบาล,หนักกบาลหัว
หมายถึง(ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะแก่คาบ้าน ก็ไม่หนักกบาลหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกะลาหัว หนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
แลบ
หมายถึงก. เหลื่อมหรือทำให้เหลื่อมออกจากที่เดิม (มักใช้แก่ของแบน ๆ) เช่น แขนเสื้อชั้นในแลบ แลบลิ้น; เป็นแสงแวบ ๆ ออกไป เช่น ฟ้าแลบ ไฟแลบ.
แพล็บ,แพล็บ ๆ
หมายถึง[แพฺล็บ] ว. ชั่วระยะเวลาเดี๋ยวเดียวอย่างฟ้าแลบ เช่น โผล่มาแพล็บเดียว หายไปแล้ว ทำแพล็บเดียวเสร็จ แลบลิ้นแพล็บ ๆ, แผล็บ หรือแผล็บ ๆ ก็ว่า.
ให้ออก
หมายถึง(กฎ) น. วิธีการสั่งให้พ้นจากราชการเพราะเหตุ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ในกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น ให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ ให้ออกเมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง ให้ออกเพื่อไปรับราชการทหาร.
แก้ววิเชียร
หมายถึงน. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้นหรือเพดานหรือกระพุ้งแก้ม สีขาวดั่งเนื้อในมะพร้าว มีอาการท้องอืด ลงท้องนับหนไม่ถ้วน. (แพทย์).
กรุบ
หมายถึง[กฺรุบ] ว. เสียงดังเช่นนั้นเมื่อเคี้ยวของแข็งที่แตกง่าย. น. ขนมปั้นก้อนชนิดหนึ่ง เรียกว่า ขนมกรุบ; เรียกกะลาอ่อนของมะพร้าวว่า กรุบมะพร้าว.
ผัสส,ผัสส-,ผัสสะ
หมายถึงน. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).
อาราธนาศีล
หมายถึงก. ขอให้พระภิกษุหรือสามเณรให้ไตรสรณคมณ์และศีล โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห ... สีลานิ ยาจาม.
ปลดออก
หมายถึง(กฎ) น. โทษทางวินัยสถานหนึ่ง ที่ใช้ลงแก่ข้าราชการผู้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยสั่งให้ออกจากราชการ ผู้ถูกลงโทษปลดออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออก.
หาเหตุ
หมายถึงก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา; หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; หาข้ออ้าง เช่น เขาหาเหตุลาหยุดงาน.