ค้นเจอ 992 รายการ

คลุมเครือ

หมายถึงว. ลักษณะที่กํ้ากึ่งเอาแน่นอนทางใดทางหนึ่งไม่ได้ เช่น อากาศที่จะมืดก็ไม่มืด จะสว่างก็ไม่สว่าง เรียกว่า อากาศคลุมเครือ, อาการไข้ที่จะหายก็ไม่หาย จะหนักก็ไม่หนัก เรียกว่า ไข้คลุมเครือ, พูดไม่บ่งชัดไปทางใดให้จะแจ้ง เรียกว่า พูดคลุมเครือ.

โง

หมายถึงก. ยก (ใช้แก่หัว) เช่น โงหัวไม่ขึ้น.

ภูมิศาสตร์กายภาพ

หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักในเรื่องลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่แวดล้อมตัวมนุษย์.

สาระพา,สาระพาเฮโล

หมายถึงว. เสียงร้องพร้อม ๆ กันเพื่อบอกจังหวะให้ออกแรงพร้อมกันเมื่อเวลาลากหรือยกของหนักเป็นต้น, เฮโลสาระพา ก็ว่า.

ครุ

หมายถึง[คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).

ศิรามพุช

หมายถึงน. หัว. (เทียบ ส. ศิร = หัว + อมฺพุช = บัว, รวมความ = หัวต่างดอกบัว).

น้ำหนัก

หมายถึงน. ความหนักของสิ่งต่าง ๆ, ความสำคัญ เหตุผล หรือพยานหลักฐาน เป็นต้น ที่ควรแก่การเชื่อถือ หรือที่จูงใจให้เชื่อถือ.

หวัว,หวัวร่อ,หวัวเราะ

หมายถึงดู หัว ๑.

พระศิโรเวฐณ์,พระเวฐนะ

หมายถึงผ้าโพกหัว

พระยอด

หมายถึงฝี, หัวฝี

ฟูมฟายน้ำตา

หมายถึงก. เอามือทั้ง ๒ ข้างเช็ดน้ำตาที่ไหลอาบหน้าเพราะความเศร้าโศกเสียใจอย่างหนัก.

ฝีเย็บ

หมายถึงน. บริเวณระหว่างอวัยวะเพศกับทวารหนัก สำหรับหญิงมักฉีกขาดได้ง่ายเนื่องจากการคลอดบุตร.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ