ตัวกรองผลการค้นหา
กังก้า
หมายถึงว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียกข้าไทย. (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง).
ปริ่ม
หมายถึง[ปฺริ่ม] ว. เสมอขอบ, เสมอพื้น, (ในลักษณะอย่างนํ้าที่ขึ้นเสมอขอบตลิ่งหรือดอกบัวที่โผล่ขึ้นเสมอพื้นนํ้าเป็นต้น); อาการที่มีความยินดีปลื้มใจ เช่น ปริ่มใจ ปริ่มยิ้ม ปริ่มเปรม.
อมยิ้ม
หมายถึงว. ยิ้มน้อย ๆ โดยไม่เผยอริมฝีปาก. น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยน้ำตาล มีสีต่าง ๆ เป็นรูปกลม ๆ หรือแบน ๆ เสียบไม้.
หน้าตัวเมีย
หมายถึงน. ลักษณะหน้าตาท่าทางคล้ายผู้หญิง, โดยปริยายหมายความว่า ใจเสาะ, ขี้ขลาด, ไม่กล้าสู้, (มักพูดเป็นเชิงเหยียดหยามผู้ชาย).
เสือสิ้นตวัก
หมายถึง(สำ) น. คนที่ฮึดสู้อย่างไม่คิดชีวิต, มักพูดเข้าคู่กับ สุนัขจนตรอก ว่า เสือสิ้นตวัก สุนัขจนตรอก.
จญ
หมายถึง(โบ; กลอน) ก. ประจญ, สู้รบ, เช่น คือนาคจญครุทธสรงง วิ่งเว้น. (ยวนพ่าย). (ข. ชล่).
มอบตัว
หมายถึงก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของโรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.
ขืน
หมายถึงก. ยั้งไว้หรือบังคับไว้ไม่ให้เป็นไปตาม เช่น ขืนตัว ขืนเรือ; ไม่ควรทำแต่ยังกล้าทำ เช่น ขืนกิน ขืนสู้, ไม่ยอมทำตาม เช่น ขืนคำสั่ง.
หลุดลุ่ย
หมายถึงก. คลายตัวหลุดเลื่อนไปจากสภาพเดิม เช่น ผมหลุดลุ่ย เสื้อผ้าหลุดลุ่ย. ว. ไม่มีทางสู้ เช่น แพ้หลุดลุ่ย คะแนนทิ้งห่างกันหลุดลุ่ย.
คร้าม
หมายถึง[คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
กางเกียง
หมายถึงก. ไม่ลงรูป, ไม่ลงรอย, ไม่ลงที่, สวมกันไม่เข้า, ใช้ว่า กางเกี่ยง ก็มี เช่น เมื่อนั้น พระคาวีเห็นนางยังกางเกี่ยง ยิ้มพลางทางลงไปจากเตียง แล้วกล่าวเกลี้ยงแกล้งปลอบให้ชอบใจ. (คาวี), กังเกียง หรือ กำเกียง ก็ว่า.
มุ
หมายถึงก. ตั้งใจเอาจริงเอาจัง เช่น มุดูหนังสือ มุสู้ มุจะเอาชนะให้ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ มานะ เป็น มุมานะ เช่น เขามุมานะทำงาน.