ค้นเจอ 293 รายการ

เสาเกียด

หมายถึงน. ไม้ที่ปักขึ้นเป็นหลักกลางลาน สำหรับผูกควายหรือวัวให้ย่ำนวดข้าวไปรอบ ๆ, เกียด ก็ว่า.

เกสร

หมายถึง[-สอน] น. ส่วนในของดอกไม้โดยมากเป็นเส้น ๆ เช่น เกสรบัว, เรณูหรือผงเหลืองที่มีอยู่ในดอกไม้ ติดอยู่กับก้านเกสรก็มี ติดกับเมล็ดเกาะอยู่กับดอกก็มี, ส่วนสืบพันธุ์ของดอกไม้; (แบบ) ขนสร้อยคอสิงโต เช่น เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตกัมพล. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ป.; ส. เกสร, เกศร).

สลับ

หมายถึง[สะหฺลับ] ว. คั่นเป็นลำดับ เช่น เขียวสลับแดง ผู้หญิงผู้ชายนั่งสลับกัน สร้อยทับทิมสลับเพชร; สับเปลี่ยน เช่น สลับคู่.

จะปิ้งเรือ

หมายถึงน. แผ่นโลหะโดยมากทำเป็นรูปดอกจัน สำหรับตรึงที่โคนห่วงร้อยโซ่ผูกเรือ.

โซ่

หมายถึงน. โลหะมีเหล็กเป็นต้นที่เกี่ยวกันเป็นข้อ ๆ เป็นสายยาวสำหรับผูกล่ามแทนเชือก.

คลัง

หมายถึง[คฺลัง] น. ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือกสำหรับล่ามสัตว์หรือเรือ, (โบ) กลัง. ก. ผูกคอสัตว์ให้เข้าคู่กัน เพื่อไม่ให้พรากกัน หรือฝึกหัดตัวที่ไม่ชำนาญงาน เช่น เอาวัวไปผูกเข้าคู่กัน ว่า เอาวัวไปคลัง.

ว่าว

หมายถึงน. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสายซุงสำหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู.

หลัก

หมายถึงน. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมาย เช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดำรงชีวิต, เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลักกฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.

ประพันธ์

หมายถึงก. แต่ง, เรียบเรียง, ร้อยกรอง, ผูกถ้อยคำเป็นข้อความเชิงวรรณคดี. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).

ผูกขวัญ

หมายถึงก. เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามสมควร.

ชิงช้า

หมายถึงน. ที่นั่งผูกด้วยเชือกเป็นต้น ๒ ข้าง แขวนตามกิ่งไม้หรือที่สูง สำหรับนั่งหรือยืนไกวไปมา.

สายบังเหียน

หมายถึงน. สายที่ผูกปลายบังเหียนทั้ง ๒ ข้างสำหรับโยงไปให้ผู้ขี่ม้าถือเพื่อบังคับม้า.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ