ค้นเจอ 225 รายการ

กรรณยุคล

หมายถึง[กันนะ-] น. หูทั้ง ๒ ข้าง เช่น ในพระกรรณยุคลท่านนั้น. (ม. คำหลวง มหาราช). (ป., ส. ยุคล ว่า คู่).

ปิ่นโต

หมายถึงน. ภาชนะสำหรับใส่ของกิน ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีหูร้อยหิ้วได้, ลักษณนามว่า เถา เช่น ปิ่นโต ๒ เถา.

รื่น

หมายถึงว. ชื่น, สบาย, เช่น ฟังเสียงรื่นหู ดูทิวทัศน์รื่นตา เสียใจแต่แสร้งทำหน้ารื่น.

ลุ่ยหู

หมายถึงว. อาการที่แพ้อย่างไม่มีทางสู้ (เดิมใช้แก่ปลากัด คือ ฝ่ายแพ้ถูกกัดหูเสียจนหมด).

ชัน

หมายถึงก. ยกตั้งตรง เช่น ชันขา ชันเข่า; ตั้งขึ้น เช่น ขนชัน หูชัน. ว. ตรงขึ้นไป, ไม่ลาด, เช่น ตลิ่งชัน.

ซอก

หมายถึงน. ช่องทางที่แคบ ๆ เช่น ซอกเขา ซอกหู ซอกคอ. ก. ซุก, ซุกแทรกเข้าไป, ซ่อน.

โอ้เอ้

หมายถึงน. เรียกการสวดกาพย์ลำนำเป็นทำนองอย่างที่นักเรียนสวดตามศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดารามในวันเข้าพรรษา วันกลางพรรษา และวันออกพรรษา ว่า สวดโอ้เอ้วิหารราย. ว. ชักช้า.

เย็นหู

หมายถึงว. รื่นหู, ไม่ขัดหู, ฟังแล้วสบายใจ, เช่น พูดจาไพเราะนุ่มนวลฟังแล้วเย็นหู เสียงเขาฟังแล้วเย็นหู.

พรรษา

หมายถึง[พันสา] น. ช่วงระยะเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน เช่น เข้าพรรษา จำพรรษา; ปี เช่น บวช ๓ พรรษา, (ราชา) มีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส, วสฺสาน).

ขัดตา

หมายถึงก. ดูไม่ถูกตา, ดูไม่เหมาะตา, ขัดนัยน์ตา ขัดลูกตา หรือขัดลูกหูลูกตา ก็ว่า.

พาน

หมายถึงว. ทำท่าว่า เช่น พานจะเป็นลม พานจะตาย พานจะโกรธ, พี่ก็พานแก่ชราหูตามัว. (สังข์ทอง).

ดิ่ว

หมายถึงว. แน่ว, ใช้ประกอบคำ ตรง ว่า ตรงดิ่ว เช่น ถนนสายนี้ตรงดิ่วสุดลูกหูลูกตา.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ