ตัวกรองผลการค้นหา
ราชทินนาม
หมายถึง[ราดชะทินนะนาม] น. ชื่อบรรดาศักดิ์หรือสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทาน.
หว่าน
หมายถึงก. โปรย เช่น หว่านทาน, สาดให้กระจาย, เช่น หว่านข้าวเปลือก, โดยปริยายหมายความว่า แจกจ่ายไปทั่ว ๆ เช่น หว่านเงิน.
ดุษฎีมาลา
หมายถึงน. ชื่อเหรียญที่พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ได้ใช้ศิลปวิทยาให้เป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองถึงขนาด ทั้งอาจได้รับพระราชทานเงินพิเศษประจำเดือนไปตลอดชีวิต เดิมกำหนดให้มีเข็มพระราชทานประกอบกับเหรียญรวม ๕ ชนิด คือ เข็มราชการในพระองค์ เข็มราชการแผ่นดิน เข็มศิลปวิทยา เข็มความกรุณา และเข็มกล้าหาญ ต่อมาคงเหลือแต่เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เพียงอย่างเดียว.
หิรัญบัฏ
หมายถึง[หิรันยะบัด] น. แผ่นเงินที่จารึกราชทินนามสำหรับพระราชทานแก่พระสงฆ์และขุนนางผู้ใหญ่.
ฉิน
หมายถึง(กลอน) ว. ฉัน, เช่น, คล้าย, เหมือน, เช่น ทิพฉายฉวงฉินฉัตร ใบชรอัดอรชร. (ม. คำหลวง วนประเวสน์).
กัจฉปะ
หมายถึง[กัดฉะปะ] (แบบ) น. เต่า เช่น หมู่มัจฉกัจฉปะทุกสิ่งสรรพ์. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป., ส.).
เฉลียง
หมายถึง[ฉะเหฺลียง] น. ส่วนของโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญที่ต่อออกมาโดยรอบ หรือส่วนของเรือนที่ต่อออกมาด้านหัวและท้ายเรือน สำหรับนั่งเล่นหรือเดินติดต่อกันเป็นต้น. ว. เฉียง.
พระสนม
หมายถึงน. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตายกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี.
ท่านผู้หญิง
หมายถึงน. เดิมใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของเจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง, ปัจจุบันใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ.
ดำรวจ
หมายถึง[-หฺรวด] (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ตรวจ) ก. ตรวจตรา, พิจารณา, เช่น ฝ่ายคนผู้ข้าได้ดำรวจดารทาน. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
ศ
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๘ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้นและเป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่น เช่น ศาลา อากาศ ไอศกรีม วงศ์.
เบญจธรรม
หมายถึงธรรมะ ๕ ประการ ได้แก่ ๑. เมตตา ๒. ทาน ๓. ความสำรวมในกาม ๔. สัจจะ ๕. สติ คู่กับ เบญจศีล