ตัวกรองผลการค้นหา
กริตย,กริตย-
หมายถึง[กฺริดตะยะ-] (โบ; กลอน) ก. ทำ เช่น พระบาทสญไชยก็ชำระกริตยภิษิตสรรพางค์. (ม. คำหลวง มหาราช). (ส. กฺฤตฺย).
ติดสนม
หมายถึง(โบ) ก. ถูกกักบริเวณในเขตพระราชฐานโดยอยู่ในความดูแลของพวกสนม ใช้แก่ผู้มีฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์ หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่.
ร่ายดั้น
หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งใช้ตั้งแต่ ๕-๗ คำ และจะต้องจบด้วยบาทที่ ๓ และที่ ๔ ของโคลงดั้นวิวิธมาลี นอกนั้นเหมือนร่ายสุภาพ.
รอย
หมายถึงน. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอยประสาน; เค้า, เค้าเงื่อน, เช่น แกะรอย ตามรอย; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รอยรัก, ทาง เช่น มารอยเดียวกัน; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นรอย เช่น พระบาท ๔ รอย มีรอยต่อ ๓ รอย. (กลอน) ว. เห็นจะ, ชะรอย.
กมล
หมายถึง[กะมน] (แบบ) น. บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล. ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คำหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).
คำสร้อย
หมายถึงน. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.
ประจบ
หมายถึงก. บรรจบ, เพิ่มให้ครบจำนวน, เช่น มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท; จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้ประจบกัน ทาง ๒ สายมาประจบกัน, ทำให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุมประจบกัน.
ยุบยิบ
หมายถึงว. ละเอียดเกินไป, ถี่ถ้วนเกินไป, เช่น ตรวจยุบยิบ คิดยุบยิบทุกบาททุกสตางค์; อาการคันน้อย ๆ ทั่วทั้งตัวหรือเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เช่น คันยุบยิบไปทั้งตัว คันจมูกยุบยิบ.
ตะโพง
หมายถึงว. อาการวิ่งก้าวยาว ๆ หรือวิ่งอย่างกระโดด; โทง ๆ, โหย่ง ๆ, เช่น ก็จะทำคลุมโปงตะโพงดัน. (ปกีรณำพจนาดถ์), วิ่งตะโพงกอดบาท. (นิทราชาคริต), ตะพง ก็ว่า.
กำแพงเขย่ง
หมายถึง[-ขะเหฺย่ง] น. ชื่อพระพิมพ์ปางลีลา ยกพระบาทข้างหนึ่งคล้ายเขย่ง เพราะขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นแห่งแรก จึงเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง, ถ้ามีขนาดสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก.
ลายเบา
หมายถึงน. ลายที่เกิดขึ้นด้วยการแกะเดินเส้นเป็นร่องตื้น ๆ บนพื้นหินหรือพื้นโลหะ เช่น ลายเบาจารึกบนพื้นหินชนวน ลายเบาบนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์.
นาภี
หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).