ตัวกรองผลการค้นหา
อาราธนาธรรม
หมายถึงก. ขอนิมนต์ให้พระภิกษุหรือสามเณรแสดงธรรม โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า พฺรหฺมา จ โลกาธิปติ สหมฺปติ ... เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ.
อุตริมนุสธรรม
หมายถึง[-มะนุดสะทำ] น. คุณอย่างยวดยิ่งของมนุษย์ ได้แก่ธรรมวิเศษมีการสำเร็จฌาน สำเร็จมรรคผลเป็นต้น. (ป. อุตฺตริ + มนุสฺส + ธมฺม; ส. อุตฺตริ + มนุษฺย + ธรฺม).
พระแท่น
หมายถึงธรรมาสน์(พระสังฆราช)
กฎธรรมดา
หมายถึงน. ข้อกำหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดาวิสัยของมนุษย์และสังคม.
กรมธรรม์ประกันภัย
หมายถึง(กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดงวัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนเงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์. (อ. policy of insurance).
กัณหธรรม
หมายถึงน. ธรรมฝ่ายดำ คือ อกุศล.
ค่าฤชาธรรมเนียม
หมายถึง[-รึชา-] (กฎ) น. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินคดี รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย.
จริยธรรม
หมายถึงน. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม.
ดะโต๊ะยุติธรรม
หมายถึง(กฎ) น. ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม.
ทศพิธราชธรรม
หมายถึงน. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน – การให้ ๒. ศีล – การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ – ความซื่อตรง ๕. มัททวะ – ความอ่อนโยน ๖. ตบะ – การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ – ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ – ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
เทวธรรม
หมายถึงน. ธรรมสำหรับเทวดา, ธรรมสำหรับทำบุคคลให้เป็นเทวดา คือ หิริ และ โอตตัปปะ.
ธรรมกถา
หมายถึงน. การกล่าวธรรม, ถ้อยคำที่เป็นธรรม. (ส.; ป. ธมฺมกถา).