ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ถ้อย, ลิ้น, ฝ้ายคำ, วจะ, วากย,วากย-,วากยะ, วาจา, กถา, พจี, วาณี
ถ้อย
หมายถึงน. คำพูด, มักใช้ประกอบกับคำอื่น เช่น ถ้อยคำ เจ้าถ้อยหมอความ เป็นถ้อยร้อยความ.
ถ้อยคำ
หมายถึงน. คำที่กล่าว.
สาร,สาร,สาร-,สาร-
หมายถึง[สาน, สาระ-] น. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น แก่นสาร; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. (ป., ส.).
ลิ้น
หมายถึงน. อวัยวะที่อยู่ในปาก มีหน้าที่ ๑. กลั้วอาหารให้เข้ากันแล้วส่งลงในลำคอ ๒. ช่วยในการออกเสียง ๓. ให้รู้รส, ลิ้นสัตว์บางจำพวกเช่นจำพวกที่มีขน ใช้ลิ้นเลียขนเลียแผลเพื่อทำความสะอาดได้; โดยปริยายหมายถึงส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม ที่อยู่ภายใน ก็มี เช่น ลิ้นหีบ ลิ้นลุ้ง ที่อยู่ภายนอก ก็มี เช่น ลิ้นของปี่ ที่เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี เช่น ลิ้นเชี่ยนหมาก ลิ้นกล่องอาหาร; อุปกรณ์สำหรับปิดเปิดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอากาศ นํ้า เป็นต้น หยุดการเคลื่อนที่ผ่าน หรือเคลื่อนที่ผ่านไปได้; การพูด, ถ้อยคำ, เช่น ไม่เชื่อลิ้นเจ้าแล้วนะแก้วตา.
ให้ถ้อยคำ
หมายถึง(กฎ) ดู ให้การ.
ถ้อยคำสำนวน
หมายถึง(กฎ) น. หนังสือใด ๆ ที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น.
คติพจน์
หมายถึงน. ถ้อยคำที่เป็นแบบอย่าง.
สมอ้าง
หมายถึงก. รับรองถ้อยคำที่เขากล่าว.
น้ำคำ
หมายถึงน. ถ้อยคำสำนวน.
พุทธฎีกา
หมายถึงน. ถ้อยคำของพระพุทธเจ้า; (โบ) ถ้อยคำของสมเด็จพระสังฆราช. (จารึกสยาม). (ป.).
อรรถรส
หมายถึง[อัดถะรด] น. รสแห่งถ้อยคำ, ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความซาบซึ้ง, ถ้อยคำที่ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ.
วจีเภท
หมายถึงน. การเปล่งถ้อยคำ. (ป.).